วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในเมฆิยสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เนื้อหาและหลักธรรมในเมฆิยสูตร 2) วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในเมฆิยสูตร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร นำมาเรียบเรียง นำเสนอบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในเมฆิยสูตร คือ การเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 โดยกำหนดรู้อกุศลวิตกที่เกิดขึ้น เมื่อจิตมีราคะ เป็นต้น ก็กำหนดรู้ชัดว่าจิตมีราคะ โดยใช้การบริกรรมว่า “ราคะหนอ” การกำหนดรู้นั้น เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนา เป็นการเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นการเจริญสัมมาสติ เป็นการกำหนดรู้ในทุกขอริยสัจ จิตที่มีราคะย่อมเป็นหนึ่งในองค์ธรรมของทุกขอริยสัจ มีจิต 81 เป็นต้น เมื่อเห็นว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นปัญญินทรีย์ในอินทรีย์ 5 เป็นสัมมาทิฐิในมรรคมีองค์ 8 การกำหนดรู้ราคะเป็นการเจริญเนกขัมมวิตก เป็นการเจริญสัมมาสังกัปปะ ความเพียรในการกำหนดรู้เพื่อไม่ทำอกุศลวิตกใหม่ให้เกิดขึ้นเป็นการเจริญสัมมาวายามะ ฉันทะในการกำหนดรู้ ราคะ นั้น เป็นการเจริญอิทธิบาท 4 เป็นการเจริญสัทธินทรีย์ และสัทธาพละ ในอินทรีย์ 5 และพละ 5 เป็นการเจริญสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ดังนั้น การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในเมฆิยสูตร แม้เพียงการกำหนดรู้ว่า “ราคะหนอ” ถือเป็นการเจริญโพธิปักขิยธรรมเพื่อบรรลุธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระประยูร รุ่งเรือง. (2565). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสาวกในพระสุตตันตปิฎก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1366-1375.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ). (2554). อริยวังสปฏิปทา. นครปฐม: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
Chanthathong, S. (2021). The Significance of the Right View (Sammaditthi) in Theravada Buddhism. Journal of International Buddhist Studies, 12(1), 61-70.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20