ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวยในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวยในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวย ในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวย ในประเทศไทย โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และพนักงาน จำนวน 480 ราย ตามเกณฑ์ของแฮร์ และคณะ และเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 ท่าน ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวย ในประเทศไทย ได้แก่ เครือข่ายความร่วมมือ แรงผลักดันทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ (2) เครือข่ายความร่วมมือ แรงผลักดันทางธุรกิจ สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน และความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวย ในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดล และ (3) ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอุปกรณ์เสริมสวย ในประเทศไทย มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับเครือข่ายความร่วมมือ แรงผลักดันทางธุรกิจ และสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลคงอยู่ในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://datawarchouse.dbd.go.th/menu/est/1.html. (1 มิถุนายน 2565).
ชลิดา ลิ้นจี่, สุภาพร รัตนวิสุทธิ์, นฤมล สุทธิธรรม และ สนาศิริ แสงสุข. (2566). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 851-864.
ชิงฮุ่ย ไช, ศิรชญาน์ การะเวก, บุรพร กำบุญ และ สุชาติ ปรักทยานนท์. (2566). รูปแบบของปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 520-539.
ณัชชา ศิรินธนาธร และ ธีรเดช ทิวถนอม. (2566). กลยุทธ์และการพัฒนาการสื่อสารการตลาดทางเลือก สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 71-90.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.
ธัญรัฐ ไพศาลวงศ์ดี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสนใจซื้อเครื่องสำอางเกาหลีของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(1), 510-528.
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา สุดใจ และ ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การบริการและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 73-84.
ภักดี มะนะเวศ. (2564). กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) กับผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กร: กรณีศึกษาภาคอุตสาหกรรมการผลิตในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. RMUTT Global Business and Economics Review, 16(1), 19-40.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Creswell, J. W. (2005). Educational Research: Planning, Conducting, and Valuating Quantitative and Qualitative Research. (2nd ed.). New Jersey: Pearson Education.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks: Sage.
Kaplan, R. S., & Norton, D P. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategies into Action. Boston: Harvard Business School Press.
Ke, W., & Yu, S.-C. (2023). Abusive Supervision and Employee Creativity: The Mediating Effect of Role Identification and Organizational Support. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 39–52.
Mukhamad, N., Dewi, F., & Widyastuti, H. (2014). Collaborative Networks as a Source of Innovation and Sustainable Competitiveness for Small and Medium Food Processing Enterprises in Indonesia. International Journal of Business and Management, 9(9), 89-101.
Porter, M. E. (1990). Towards a Dynamic Theory of Strategy. Strategic Management Journal, 12, 95-177.
Young, M., Hamill, C., Wheeler, H., & Davies, V. (1998). International Market Entry and Development, Strategy and Management. New Jersey: Prentice Hall.
Zhao, A., & Phakdeephirot, N. (2023). Research on Influencing Factors of Employee Safety Behavior - Data from Construction Enterprises in Hebei Province, China. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 79–104.