รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบในประเทศไทย

Main Article Content

คุณกร วรโชคอำพล
สุชาติ ปรักทยานนท์
บุรพร กำบุญ
ศิรชญาน์ การะเวก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ในประเทศไทย  ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการ และผู้บริหารจำนวนทั้งสิ้น 312 แห่ง โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของแฮร์ และคณะ แบบแบ่งชั้นภูมิ และ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 15 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ  ในประเทศไทย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรม ด้านการจัดการความรู้
ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจ 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบในประเทศไทยประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (2) การส่งเสริมนวัตกรรม (3) การจัดการความรู้ (4)พฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม และ (5) ผลการดำเนินงานของธุรกิจ  มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบ ในประเทศไทย ซึ่งค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องของโมเดลจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ความเป็นไปได้ของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แนวราบในประเทศไทย มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ.สืบค้นวันที่ 5 มกราคม 2566. สืบค้นจาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/search/search2.html.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2558). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ ภาพรวมกลุ่มธุรกิจสถานบันเทิงสืบค้นจาก http://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/business/detail/1.html

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2557). ทฤษฎีตลาดทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

บุปผา ภิภพ และเชฐธิดา กุศลาไสยานนท์. (2563). แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(2), 333-342.

ภัทร์ชนัน สมสมาน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้นวัตกรรม และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท ไทยแอนิเมชั่น จำกัด. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 38(146), 9-24.

มาลิณี ศรีไมตรี. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพนักงานในสถานประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ภาคการผลิต) เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 97-109.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2564). Data Drives Real Estate. Annual Report 2021. ธนาคารอาคารสงเคราะห์.

Alavi, M., & Leidner, D.E. (2001). Knowledge Management and Knowledge Management Systems: Conceptual Foundations and Research Issues. MIS Quarterly, 25, 107-136.

Byrne, B. M. (2009). Structural Equation Modeling with AMOS: Basic Concepts, Applications, and Programming. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.

Creswell, J. W. (2005). Educational Research: Planning, Conducting, and Valuating Quantitative and Qualitative Research. (2nd ed.). New Jersey: Pearson Education.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks: Sage.

Hartog, D. D. N., Muijen, J. J., & Koopman, P. L. (1997). Transactional versus Transformational Leadership: An Analysis of the MLQ. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 70, 19-34.

Mayasari, Y., & Chandra, T. (2020). Social Capital for Knowledge Management System of the Creative Industry. Journal of Enterprising Communities: People and Places in the Global Economy, 14(4), 481-494.

Rauch, A., Wiklund, J., Lumpkin, G., & Frese, M. (2009). Entrepreneurial Orientation and Business Performance: An Assessment of Past Research and Suggestions for the Future. Entrepreneurship Theory Practice, 33, 761-787.

Slocum, J. W., & Hellriegel, D. (2011). Principles of Organizational Behavior. (13th ed.). Ohio: South-Western Cengage Learning.

West, M. A., & Farr, J. L. (1990). Innovation At Work. in M. A. West, & J. L. Farr (Eds.), Innovation and Creativity at Work: Psychological and Organizational Strategies (pp. 3-13). Chichester: Wiley.