วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัตตทีปสูตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมในอัตตทีปสูตร 2) วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอัตตทีปสูตร เป็นการศึกษาเชิงเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นการศึกษาเชิงเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฏีกา รวมทั้งข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา โดยมีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า อัตตทีปสูตรเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกับพระภิกษุทั้งหลาย กล่าวถึงสาเหตุของความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจเกิดมาจากสาเหตุอะไร และวิธีพัฒนาจิตใจ เพื่อเข้าสู่อริยมรรค อริยผล เนื้อหาพระสูตรมีใจความกล่าวถึง การกำหนดรู้ความเป็นจริงของขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยความเพียร ด้วยสติ ด้วยสัมปชัญญะ โดยเห็นเป็นลักษณะความเป็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เมื่อปฏิบัติตามแนวทางการกำหนดรู้ในรูปนาม จนเกิดวิปัสสนาญาณตามลำดับ ย่อมเกิดเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 ได้รับผลประจักษ์แจ้งในวิปัสสนา จิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพุทธโฆสเถระ. (2549) คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (พิมพ์ครั้งที่ 4). แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
พระสัทธัมมโชตะ ธัมมาจริยะ.(2556). ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1 – 2 – 6. (พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. แปลโดย พระคันธ สาราภิวงศ์, กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พระอรรถชาติ เดชดำรง. (2566). การแบ่งช่วงชั้นทางสังคม : มุมมองของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพระพุทธศาสนา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 481-492.
พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2549). ไตรลักษณ์และปฎิจจสมุปบาท. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมดา.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.