วิเคราะห์การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 เพื่อการบรรลุธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามรรคมีองค์ 8 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทและ 3) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 เพื่อการบรรลุธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 8 ประการอันประเสริฐ ประกอบด้วย (1) การเห็นชอบ (2) การดำริชอบ (3) การเจรจาชอบ (4) การทำการชอบ (5) การเลี้ยงชีพชอบ (6) การเพียรชอบ (7) การระลึกชอบ และ (8) การตั้งจิตมั่นชอบ 2) การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การบรรลุโลกุตตรธรรม 9 จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในแต่ละประเภท 3) การปฏิบัติตามมรรค์มีองค์ 8 เพื่อบรรลุธรรม พบว่า การบรรลุธรรมได้ต้องปฏิบัติตามหลักอริยสัจ 4 เป็นการพัฒนาคุณภาพของบุคคลตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องใช้สตินำ ในการพัฒนามรรคทั้ง 8 องค์โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดมิจฉามรรค ส่งเสริมการบรรลุสัมมามรรค และส่งเสริมการบรรลุอริยมรรคซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดังนี้ 1) มีความเข้าใจถูกต้อง 2) มีความใฝ่ใจถูกต้อง 3) มีการพูดจาที่ถูกต้อง 4) การกระทำถูกต้อง 5) ดำรงชีพอย่างถูกต้อง 6) มีความพากเพียรที่ถูกต้อง 7) มีการระลึกได้ที่ถูกต้อง และ 8) การตั้งใจมั่นถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). ธรรมภาคปฏิบัติ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จันทร์ทิพย์ ชูศักดิ์พาณิชย์. (2556). พุทธวิธีการสื่อมรรคมีองค์ 8 สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140
พระครูปลัดปราโมทย์ ปโมทิโต (ปานเจริญ).(2557). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเพียรกับการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญฃาณสิทฺธิ). (2538). คำบรรยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน เล่ม 7-8-9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญฃาณสิทฺธิ). (2548). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2 ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). ความจริงแห่งชีวิต : แบบทดสอบใจและเตือนให้นึกถึงความจริง. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระปลัดสมเกียรติ เปมสีโล (โฉมจิตร์). (2557). ศึกษาการบรรลุธรรมของพระอนาคามีที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). (2558). วิปัสสนาภาวนา. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สหธรรมมิก.
Damnoen, P. S., Chaiworamankul, Y., Thammawatsiri, P. A., & Soontrondhammanitus, P. (2021). Buddhist Ethics and the way of Living in Daily Life: An Analysis of Genital Malfeasances (Kamesumicchacara). Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(8), 2943-2948.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.