วิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอนัตตลักขณสูตร

Main Article Content

พระมหาอาทิตย์ เมืองเมืองอุ่น
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญในอนัตตลักขณสูตร เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในอนัตตลักขณสูตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่า อนัตตลักขณสูตรเป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาและหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ (1) ขันธ์ห้า (2) ไตรลักษณ์ เป็นพระสูตรที่แสดงความจริงของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ตกอยู่ในกฎเกณฑ์ของ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เป็นพระสูตรที่ 2 ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดล้วน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เมื่อปัญจวัคคีย์ฟังจบทุกรูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


ผลการวิเคราะห์พบว่า รูป เป็นธรรมชาติที่แตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและด้วยอำนาจของความเย็น เวทนา คือการเสวยอารมณ์สุขทุกข์เฉยๆ สัญญา ความจำได้หมายรู้ สังขาร การปรุงแต่งจิต วิญญาณ คือ การรู้แจ้งอารมณ์ เมื่อผู้ปฏิบัตินำเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาพิจารณาตามกฎไตรลักขณ์แล้วย่อมเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว และย่อมคลายความยืดมั่นถือมั่นในรูป-นาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) . (2550). พจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2556). อนัตตลักขณสูตร. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) ตรวจชำระ. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ (2563). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2552). คู่มือมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). ปกรณ์วิเสสวิสุทธิมรรคภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2551). คู่มือการศึกษาวิสุทธิมัค (สังเขป). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

มเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 53). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.