การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อละอวิชชาสังโยชน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาอวิชชาสังโยชน์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อละอวิชชาสังโยชน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยในลักษณะพรรณนา พบว่า
1) อวิชชาสังโยชน์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือธรรมที่ผูกมัดสัตว์ให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ อวิชชาสังโยชน์นี้เป็นเหตุเกิดแห่งอวิชชา เหตุที่ทำให้เกิดอวิชชาความไม่รู้คือ อาสวะ เป็นเหตุให้เกิด ความดับอวิชชาย่อมมีเพราะอาสวะดับ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอวิชชามี 8 อย่าง ประกอบด้วย 1) ไม่รู้ทุกข์ 2) ไม่รู้สมุทัย 3) ไม่รู้นิโรธ 4) ไม่รู้นิโรธคามินีปฏิปทา 5) ไม่รู้อดีต 6) ไม่รู้อนาคต 7) ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต 8) ความไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
2) การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อละอวิชชาสังโยชน์โดยการใช้สติสัมปชัญญะกำหนดรู้และควรละทุกอย่างที่ปรากฏขณะปัจจุบัน คือ 1) รู้จักทุกข์ 2) รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์ 3) รู้จักทางความดับทุกข์ 4) รู้จักทางถึงควาดับทุกข์ 5) รู้จักอดีต 6) รู้จักอนาคต 7) รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต 8) รู้จักปฏิจจสมุปบาท วิชชาคือความรู้ เป็นหัวหน้าแห่งความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย หิริ และโอตตัปปะ เป็นไปตามพระพุทธเจ้าสอนว่า ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้และในโลกอื่นทั้งหมดมีอวิชชาสังโยชน์เป็นมูลเหตุเกิดขึ้นด้วยความปรารถนาและความโลภ เพราะมีอวิชชาสังโยชน์เป็นมูลเหตุปุถุชนจึงมีความปรารถนาชั่ว และเมื่อละอวิชชาสังโยชน์ได้ทำวิชชาให้เกิดขึ้นจึงละทุคติทั้งปวง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปรียพร วิศาลบูรณ์, สุรัมภา รอดมณี, เนาวนิจ พึ่งจันทรเดช และ เบญญาภา ทนต์ประเสริฐเวช. (2566). จิตบำบัดตามแนวพุทธจิต: บทวิเคราะห์ในมิติทางการพยาบาล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 120-140.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 41). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพุทธโฆสเถระ. (2551). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2538). ปรมัตถโชติกะ ปฏิจจสมุปบาททีปนี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอำพัน นิลใน และ ธานี สุวรรณประทีป. (2565). การปฏิบัติวิปัสสนาในวิตถตธนสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 538-545.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Damnoen, P. S., Chaiworamankul, Y., Thammawatsiri, P. A., & Soontrondhammanitus, P. (2021). Buddhist Ethics and the way of Living in Daily Life: An Analysis of Genital Malfeasances (Kamesumicchacara). Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(8), 2943-2948.
Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1–20.