การลดความอ้วนเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

พระพงศ์พิณันป์ ปิ่นพาน
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการลดความอ้วน (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการลดความอ้วน (3) เพื่อนำเสนอการลดความอ้วนเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอันเป็นประโยชน์แก่งานวิจัยด้วยการสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า การลดความอ้วนเชิงพุทธบูรณาการ คือการลดความอ้วนตามทฤษฎี 3.อ ประกอบด้วย อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ โดยบูรณาการกับการใช้หลักธรรมเพื่อส่งแสริมการลดความอ้วน ได้แก่ 1) การควบคุมอาหารมาบูรณาการกับหลักโภชเนมัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคพอดีกับความต้องการของร่างกาย และ บูรณาการกับหลักโภชนสัปปายะ คือ อาหารที่สบายกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ย่อยง่าย 2) การควบคุมออกกำลังกายมาบูรณาการกับการเดินบิณฑบาต หรือการเดินประมาณวันละ 2 ชั่วโมงสามารถที่จะลดความอ้วน ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงเป็นต้น 3) การควบคุมอารมณ์มาบูรณาการกับหลักอาหาเรปฏิกูลสัญญาด้วยการพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหาร ทำให้ทานอาหารได้น้อย  เป็นการบริโภคอาหารอย่างฉลาด และสามารถลดความอ้วน ส่วนการลดความอ้วนตามทฤษฎี IF เชิงพุทธบูรณาการ แบ่งออกเป็น 1) การลดความอ้วนตามทฤษฎี IF มาบูรณาการกับหลักศีลข้อที่  คือ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลเริ่มตั้งแต่เที่ยงวันถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ได้แก่ กิน  ชั่วโมง ไม่กิน 18 ชั่วโมง การกินอาหารมื้อเดียว ทำให้ร่างกายสุขสบาย โรคภัยไข้เจ็บมีน้อย ร่างกายเบาสบาย และสามารถลดความอ้วนได้  2) การลดความอ้วนตามทฤษฎี IF มาบูรณาการกับหลักกาลิกที่เรียกว่า น้ำปานะ กินได้ 24 ชั่วโมง เพราะไม่นับเป็นอาหารสามารถลดความหิวและลดความอ้วนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2549). โรคอ้วนควบคุมได้. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณิตา จันทวาส, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และ สมสมัย รัตนากรีฑากุล. (2559). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการลดน้ำหนักและน้ำหนักตัว ของบุคลากรสาธารณสุขหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(3), 83 - 93.

เครือข่ายคนไทยไร้พุง. (2554). อ้วนและอ้วนลงพุง. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง.

ปกรณ์ ฮูเซ็น. (16 กันยายน 2562). ลดน้ำหนักให้ได้ผลด้วย Intermittent Fasting (IF). สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/...A2-if

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). คูมือชีวิต. (พิมพครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพพระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2548). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถร). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โรสแมรี่. (2559). สุขภาพดีอายุยืน คุณทำเองได้. นนทบุรี: โรงพิมพ์อัมรินทร์พับลิชชิ่ง.

วณิชา กิจวรพัฒน์. (2553). พิชิตอ้วน พิชิตพุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. (2558). กินอย่างไร ไม่อ้วน ไม่มีโรค. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์เฮลท์.

Richter, A. (June 16, 2022). Intermittent Fasting 101 - The Ultimate Beginner’s Guide. Retrieved May 22, 2023, from https://www.healthline.com/nutrition/intermittent-fasting-guide#effects