ปัจจัยการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ชนะเอก เชี้ยวบางยาง
สุภาสินีย์ ปริญญานิพนธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้บริหารสถานประกอบการ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการทำงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบ ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านความสัมพันธ์ภายในองค์กร แสดงให้เห็นว่า ตัวชี้วัดในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานของผู้บริหารได้ถึงร้อยละ 61.10 % ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05   
2. ปัจจัยการทำงานเป็นทีม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน ด้านการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย ด้านการกระจายความเป็นผู้นำและด้านการตัดสินใจร่วมกัน แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยการทำงานเป็นทีม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารร้อยละ 95.00 %
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ปัจจัยการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ ลักษณะงานที่รับผิดชอบ โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ภายในองค์กร การกำหนดภารกิจและเป้าหมายของทีมงาน การสื่อสารกันอย่างเปิดเผย การกระจายความเป็นผู้นำและการตัดสินใจร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร สอนศรี และพสชนัน นิรมิตรไชยนนท์ (2015). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของข้านรางการ/พนักงานรายการ Generation Y. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎกมาย, 7(1), 39-66.

กองสวัสดิการแรงงาน. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life). อนุสารแรงงาน, 11(4), 18-19.

กัญญนันทน์ ภัทรสรณ์สิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.

จุรี วรรณาเจริญกุล และมหาวิทยาลัยสยาม (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2), 125-138.

เจริญ วัชระรังษี. (2563). คู่มือการปฏิบัติการกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อักษรประเสริฐ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฐวดี ใจโชติช่วง และเพ็ญวรา ชูประวัติ (2560). การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนวัดหลักสี่พิพัฒฯราษฎร์อุปถัมภ์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 438-451.

ธวัชชัย เมฆกระจาย. (2547). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายจัดเก็บค่าผ่านทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บาคอล โรเบิร์ต. (2563). การบริหารผลการปฏิบัติงาน (พิมพ์ครั้งที่ 4). (วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ และ ยุดา รักไทย, แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

ปรัยกร บุญกอบ (2559). ปัญหาในการปฏิบัติงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(2), 45-57.

ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2554). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานตามหลักอิทธิบาท 4: กรณีศึกษา บริษัท แอมพาสอินดัสตรี จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานะ ลักษมีอรุโณทัย. (2566). โครงสร้างอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในประเทศไทยและเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ: การวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและผลผลิต. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 448-468.

วรจิตร หนองแก. (2540). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานตามบทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สมยศ นาวีการ. (2552). เศรษฐศาสตร์ การบริหาร. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สิริศา จักรบุญมา (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงาน ฝ่ายบำรุงรักษาในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, 40(1), 180-193.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

เสนาะ ติเยาว์. (2554). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิศักดิ์ อาจนันท์ และอภิรดา สุทธิสานนท์ (2559). ผลกระทบของการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรกับการทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานไอที เขตกรุงเทพฯ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(3), 101-110.

อ้อมจันทร์ ภิรมย์ราช (2558). แนวทางพัฒนาการทำงานมเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐศาสนศาสตร์, 6(1-2), 75-92.

อัครเดช ไม้จันทร์ และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(1), 95-121.

อังคณา ธนานุภาพพันธ์ และ ศุภชัย เหมือนโพธิ์ (2565). ปัญหาเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 10(1), 199-214.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Greeberg, J., & Baron, R. B. (1995). Behavior in Organization. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Hackman, J. R. (2002). Leading Teams: Setting the Stage for Great Performances. Boston: Harvard Business School Press.

Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. New York: The McMillen.

Steers, R. M. (1997). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56.