ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมน ผ่านอินสตาแกรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

นวรัตน์ วิมานทอง
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมนผ่านอินสตาแกรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมนผ่านอินสตาแกรม
ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมนผ่านอินสตาแกรมและ
พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 367 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่
1) ด้านข้อมูลบนสื่อสังคม 2) ด้านการบอกต่อแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ 3) ด้านภาพลักษณ์
และ 4) ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณจาก ค่า CMIN/df = 1.89,ค่า CMIN = 267.10, ค่า df = 141, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.79 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมนผ่านอินสตาแกรม ได้ร้อยละ 79 พบว่า ด้านการบอกต่อแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ และด้านภาพลักษณ์ มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นเจนเทิลวูแมนผ่านอินสตาแกรม ตามลำดับ ซึ่งผู้ประกอบการขายสินค้าเจนเทิลวูแมนควรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีทำให้ผู้บริโภคเกิดการบอกต่อแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และ มณียา สายสนิท. (2565). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีและบทบาทตัวแปรกำกับด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคไทย. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 35(2), 130-147.

เจนเทิลวูแมน. (1 กรกฎาคม 2565). เกี่ยวกับเจนแบรนด์เทิลวูแมน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.gentlewomanonline.com/about-us

ชวดล นุตะเอกวุฒิ และสุมามาลย์ ปานคำ. (2563). อิทธิพลของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความภักดีในตราสินค้าและความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรงุเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(24), 28-37.

ณัฐชลิต ทองอําไพ, นันทวัน เหลี่ยมปรีชา และมาร์ฎา ชยทัตโต. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ ปัจจัยภาพลักษณ์ร้านค้าที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์: กรณีศึกษาห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(9), 386-399.

ธนากร โพชากรณ์ และยุวรินธร ไชยโชติช่วง. (2565). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อความตั้งใจเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(2), 119-149.

นันท์ชนก ดาวล้อมจันทร์ และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2562). การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่มีอิทธิพลส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าหรูหราของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 1-12.

ประเชิญ ฤกษ์อรุณ. (2559). ปัญหายาเสพติดที่สะท้อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการเสพติด, 5(1), 51-59.

ปิยดา ราชพิบูลย์, ศุมรรษตรา แสนวา และจุฑารัตน์ นกแก้ว. (2565). พฤติกรรมการใช้เเละทักษะการ ประเมินสารสนเทศจากสื่อสังคม ออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 15(1), 52-68.

วัลลภา พัฒนา. (2564). การรับรู้เรื่องราวและภาพลักษณ์ผ้าทอพื้นเมืองจังหวัดสงขลาที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ ของผู้บริโภค. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(1), 95-109.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (23 สิงหาคม 2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. Thailand Internet User Behavior 2022. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/iub2022.aspx

สุชาดา น้ำใจดี. (2564). การสื่อสารแบรนด์ : ภาพลักษณ์ผ้าไหมทอมืออำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(15), 1-14.

สุมามาลย์ ปานคํา และศรุตา กาลวันตวานิช. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการ รับชมภาพยนตร์บนแอปพลิเคชันดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1041-1055.

สุมามาลย์ ปานคำ และ รัตนาภรณ์ แซ่หลี. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริม glory บนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1283-1298.

Allen, I. E. & Seaman, C. A. (2007). Likert Scales and Data Analyses. Statistics Roundtable, 65-66.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kanthoop Hengmak. (24 กุมภาพันธ์ 2565). 5 เหตุผลที่ Instagram กลายเป็นสนามการค้าใหม่แห่ง อุตสาหกรรมแฟชั่น. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566, จาก https://www.vogue.co.th/lifestyle/article/instagram-for-fashion-marketing

Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Mdsiglobal. (20 พฤษภาคม 2562). อินสตาแกรม (instagram) คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.mdsiglobal.com/instagram.

Plidtookpaia, N., & Yoopetchb, C. (2021). The Electronic Word-of-Mouth (eWOM) Trustworthiness, Brand Image and Other Determinants of Purchase Intention of The Middle Class to Luxury Hotel Services. Kasetsart Kasetsart Journal of Social Sciences 42, 61–68. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kjss/article/view/249437

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: a Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (3rd Ed.). Oxfordshire: Routledge.

STEPS Academy. (17 มีนาคม 2565). อัปเดตสถิติและเทรนด์ Global E-Commerce ที่น่าจับตาในปี 2022. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://stepstraining.co/trendy/global-e- commerce-trends-and-statistics-2022

Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D. C.: American Psychological Association.

Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369

We Are Social. (26 มกราคม 2023). The Changing World of Digital in 2023. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2566, จาก https://wearesocial.com/uk/blog/ 2023/01/the-changing-world-of-digital-in-2023/

Yanti, A. E., & Suyani, T. (2020). The Contribution of Social Media, E-WOM on Brand Images and Purchase Intention. Journal of Proceedings Series, 1(1), 95-101. Retrieved from https://iptek.its.ac.id/index.php/jps/article/download/10856/6100