การวิเคราะห์คุณภาพสินทรัพย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพสินทรัพย์ของธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาคุณภาพสินทรัพย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประชากร คือ หมวดธุรกิจการเงิน จากข้อมูลทุติยภูมิ จำนวน 41 บริษัท ตัวอย่าง คือ หมวดธุรกิจการเงิน ที่นำเสนอข้อมูลทางการเงิน จำนวน 31 บริษัท ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกธุรกิจการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รายงานทางการเงิน และ แบบฟอร์ม 56-1 นำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิงทำการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 1 อัตราการเติบโตของสินทรัพย์มี ค่าเฉลี่ย 13.1939 อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม ค่าเฉลี่ย 0.7940 อัตราส่วนทุนต่อสินทรัพย์ ค่าเฉลี่ย 2.2261 อัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ ค่าเฉลี่ย 59.0689 และ อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง ค่าเฉลี่ย 5.9908
2. ในระดับนัยสำคัญที่ 0.05 พบว่า คุณภาพสินทรัพย์ คือ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านความสามารถในการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านความสามารถในการทำกำไร และ อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านการให้ผลตอบแทน
คุณภาพสินทรัพย์ของธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) อัตราการหมุนของสินทรัพย์ส่งผลต่อ ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ 2) อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร และ 3) อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่งผลทำให้ผลตอบแทน เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกฎ จำเนียร, เมธาวี จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์ และ ปรีชาพร เกตุแก้ว. (2566). ภูมิปัญญา ความเชื่อ เรื่องเล่าปลาดุกร้า ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวดสู่การสื่อสารการตลาดสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 272-288.
กรมบัญชีกลาง. (2558). การบริหารสินทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานด้านการบัญชีภาครัฐ.
จิตติพงศ์ พุทธรักษา, ชัยวุฒิ ตั้งสมชัย, มาลีมาส สิทธิสมบัติ. (2561). การวิเคราะห์ CAMELS และการวิเคราะห์องค์ประกอบจากข้อมูลการเงินของสหกรณ์
การเกษตรในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(1), 70-85.
ณิชาภา เกตุอินทร์. (2563). คุณภาพสินทรัพย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยผลการวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 614-623.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). หมวดธุรกิจการเงินกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 กุมพาพันธ์ 2566, จาก https://www.set.or.th/th/market/index/set/fincial.
วารุณี ชายวิริยางกูร และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถการทำกําไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(2), 46-59.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น และธันยกร จันทร์สาส์น. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องและความสามารถในการทำกําไรของธุรกิจโรงแรม ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 57-73.
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 4 จังหวัดนครนายก สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์. (2563). การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf_3844099238.pdf.
สุวัฒน์ กันภูมิ, เพ็ญศรี ฉิรินัง, ชมภูนุช หุ่นนาค และ ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2564). การบริหารทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(3), 107-115.
Nanthasudsawaeng, K. (2023). The Systematic Development of Efficient Teamwork of Personnel of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Rayong Campus. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 6(1), 344–356.
Money HUB. (7สิงหาคม 2558). 5 สิ่งควรรู้ หากสนใจ ธุรกิจการเงิน. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://moneyhub.in.th/article/5-สิ่ง-ธุรกิจการเงิน.