ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ฉายากุล
สุมามาลย์ ปานคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  จำนวน 394 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทัศนคติ 2) ด้านบรรทัดฐานทางสังคม 3) ด้านการรับรู้ควบคุมพฤติกรรม 4) ด้านความตั้งใจใช้งาน และ 5) ด้านพฤติกรรมการใช้งาน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.63, ค่า CMIN = 332.72, ค่า df = 204, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.02, ค่า RMSEA = 0.04 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.62 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 62 พบว่า ด้านความตั้งใจใช้งาน ด้านการรับรู้ควบคุมพฤติกรรม มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านพฤติกรรมการใช้งานตามลำดับ ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สามารถนำผลวิจัยไปวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานภายในองค์กรให้มากที่สุดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ คงทอง และรุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2561). ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีของกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 43-57.

ญาณินท์ ปฐมกุล, วาทิต อินทุลักษณ์ และ คาล จามรมาร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่เลือกใช้บริการโรงแรมแรมสีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 237-246.

ธนากร โพชากรณ์ และยุวรินธร ไชยโชติช่วง. (2565). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อความตั้งใจเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 9(2), 119-149.

นิกร ศรีราช. (2564). การสร้างทัศนคติเชิงบวกในการทำงานตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 387-396.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). แนะนำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.swu.ac.th/introduction.php

รัฐธินี สุทธิผลไพบูลย์ และ สมชาย เล็กเจริญ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้งาน เว็บไซต์ RTAF.LIVE ในการรับข้อมูลข่าวสารของข้าราชการกองทัพอากาศไทย. วารสารรังสิตสารสนเทศ, 27(2), 6-25.

วัชระ มารุ่งเรือง. (2562). พัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาคน. วารสารพุทธจิตวิทยา, 4(2), 73-78.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (21 สิงหาคม 2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี2565. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2566, จาก https://www.etda.or.th /getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

สุมามาลย์ ปานคำ และ เบญจพร กาทอง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน S.M.A.R.T SOLDIERS ในการรับรู้ข่าวสารของข้าราชการกองทัพบก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1087-1103.

สุมามาลย์ ปานคำ และ ภรณ์พัชร์ เนาวรัตน์ธนากร. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารภายในองค์กรของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 977-992.

อนุวัตร จุลินทร, ดุษฎี โยเหลา, และเพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเจตคติต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 12(5), 1376-1395.

อินทิรา ไชยณรงค์. (2561). ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความตั้งใจออกกำลังกายด้วยการเดินในผู้ป่วยภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 47-55.

Fretschner, M. (2014). Ajzen’s Theory of Planned Behavior in Entrepreneurship Education Research. Professional and Vet Learning, (3), 249–277.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall

Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147.

Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York The Guilford Press.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor

Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (3rd ed.). Oxfordshire: Routledge.

Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D. C.: American Psychological Association.

Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69.