การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22 จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
แนวทางการพัฒนา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ควรพัฒนาครูและบุคลากรโดยศึกษาดูงานจากโรงเรียนหรือบุคคลที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ (Best Practice) ด้านการจัดทำหลักสูตร ควรปรับหลักสูตรสถานศึกษาโดยบูรณาการเนื้อหาสาระและการส่งเสริมทักษะอาชีพให้มีความยืดหยุ่นและตรงกับความสนใจของผู้เรียน ด้านทรัพยากร ควรวางแผนด้านงบประมาณในการจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ ด้านยุทธศาสตร์การดำเนินงานควรดำเนินการด้วยกระบวนการ PDCA ด้านการใช้เทคโนโลยี ผู้บริหารควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการนำ E – learning มาจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อนำมาใช้ในฐานการเรียนรู้ ด้านความร่วมมือของเครือข่าย คือ ควรขอความอนุเคราะห์ผู้มีความรู้ด้านทักษะอาชีพในท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในฐานการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ชนัดดา เทียนฤกษ์. (2557). ความหมายทักษะอาชีพ. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนุช ชุมภูเทพ และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและทุรกันดารในเขตภาคเหนือด้านตะวันตก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 142-153.
นฏกร ปิ่นสกุล, จิติมา วรรณศรี, วิทยา จันทร์ศิลา และ สำราญ มีแจ้ง. (2557). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมอาชีพของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 71-81.
ปิย สุดิสุสดี, ไพรภ รัตนชูวงศ์, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และ พูนชัย ยาวิราช. (2562). ยุทธศาสตร์การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามแนวตะเข็บชายแดนจังหวัดเชียงราย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3938-3947.
ศุภโชค ปิยะสันติ์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพสาหรับโรงเรียน ในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารบทเรียนจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(2), 175-189.
สหพัฒน์ ทิพยมาศ. (2561). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ “พลังประชารัฐ”. สงขลา: โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม.
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2565). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพคนไทย 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.