การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น หมวดธุรกิจเกษตร ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุพรรณิกา สันป่าแก้ว
นัฐนันท์ ทอนศรีชัยเลิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางการเงินของหมวดธุรกิจเกษตร 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นของหมวดธุรกิจเกษตรในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ บริษัทที่จดทดเบียนและซื้อขายหลักทรัพย์ หมวดหลักทรัพย์เกษตร ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 14 บริษัท กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดหลักทรัพย์เกษตร ที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ และแสดงแบบรายงานประจำปี ตั่งแต่รอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี  จำนวน 55 ตัวอย่าง ใช้วิธีการคัดเลือกแบบแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 1 ชนิด คือ แบบรายงานประจำปีที่แสดงในเว็ปไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ด้วยสถิติสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอย ผลการวิจัยพบว่า


1. ปัจจัยทางการเงินหมวดธุรกิจเกษตร พบว่า CR มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.186 เท่า ของหนี้สินหมุนเวียน ROA เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ร้อยละ 3.186 ROE เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ร้อยละ -6.850 DE มีหนี้สินเมื่อเทียบกับสินทรัพย์เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 1.470 เท่า OM ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย และการทำกำไรจากการดำเนินงาน เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ร้อยละ -98.0671 และ NAV มี่ค่าเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 4.538


2. ความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นตามบัญชี พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และอัตราส่วนสภาพคล่องมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นตามบัญชีมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


การเปลี่ยนแปลงของฐานนะทางการเงินวัดจากอัตราสภาพคล่องทางการเงิน แสดงถึงความคล่องตัวในการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น และการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างผลกำไรวัดจาก อัตราส่วนผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) ส่งผลต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชีของหมวดธุรกิจเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลนันทน์ นรมัตถ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://mmm.ru.ac.th › MMM › twin92.

จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์. (2562). 5 ประเภทความเสี่ยงในการลงทุน. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://www.spu.ac.th/fac/account/th/content.php?cid=25300.

เจษฎา เจริญสันติพงศ์, (25 พฤศจิกายน 2564). มูลค่าทางบัญชี vs. มูลค่าตลาด แตกต่างกันอย่างไร. บทความ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566 จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/351-book-value-vs-market-value.

ชลวิช สุธัญญารักษ์. (2560). ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์หมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการโดยใช้แบบจำลอง CAPM. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 13-23.

ณัฐพล วชิรมนตรี และ ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ในหลักทรัพย์บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(1), 69-80.

นัฏพร มโนรถพานิช. (2563). การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานและราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 279-291

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). หนี้ครัวเรือน : ปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566, จากhttps://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650157TheknowledgeHouseholdDebt.aspx.

พัชรินทร์ บุญนุ่น และคณะ. (2561). การศึกษามูลค่าทางบัญชีที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร. INCBAA 2018 Khon kaen, Thailand.

มณฑา เอมสวัสดิ์. (2560). การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statements Analysis). สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://hiperc.sru.ac.th/pluginfile.php/146110/mod_data/intro/สัปดาห์ที่%2013-14%20การวิเคราะห์งบการเงิน.pdf.

วัฒนี รัมมะพ้อ และ นิ่มนวล วิเศษสรรพ์. (2562). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ได้ทําการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาตลาดของหุ้นสามัญของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI. วารสารมหาจฬุานาครทรรศน์, 8(8), 15-30.

วิไลวรรณ ภานุวิศิทธิ์แสง. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 137-149.

ศุลีพร คําเครื่อง และเบญจพร โมกขะเวส. (2564). อิทธิพลของสภาพคล่องและความสามารถในการบริหารหนี้สินที่มีต่อราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 171-188.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.

Krungsri The COACH. (2566). ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบอะไรกับเรา?. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/life/good-life/economic-slowdown-effect