ความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

อุดมชัย ปานาพุต
ชาตรี สุขสบาย
สงคราม จันทร์ทาคีรี
วีรพงศ์ พิชัยเสนาณรงค์
พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้ได้ทราบว่า ความหมายของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาที่พบในพระไตรปิฎกนั้น ได้ให้ความหมายของคำว่าบัณฑิตไว้ว่า บุคคลที่มีความเฉลียว ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา บุคคลผู้ฟังมากเรียนมาก มีระเบียบวินัย เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา เป็นผู้มีศีล ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ในทางศาสนากำหนดไว้ คือผู้ที่ชอบคิดแต่เรื่องที่ดี ชอบพูดแต่คำที่ดี ชอบทำแต่กรรมที่ดี ผู้นั้นชื่อว่า บัณฑิต ลักษณะของบัณฑิตนั้นมีลักษณะที่พิเศษกว่าบุคคลอื่นพึงทราบด้วยการมีความสุจริตคิดแต่เรื่องที่คิดดี ด้วยการแสดงออกทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ประเภทของบัณฑิตมี 2 ระดับ คือ บัณฑิตที่อยู่ในระดับโลกิยะ และบัณฑิตที่อยู่ในระดับโลกุตตระ กระบวนการพัฒนาความเป็นบัณฑิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทมีหลักธรรมสำหรับพัฒนาบุคคลให้เป็นบัณฑิตได้แก่สิกขา 3 (ไตรสิกขา) คือ ศีล สมาธิ ปัญญาในพระพุทธศาสนา และบัณฑิตนั้นสามารถใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันคือการเป็นอยู่ในโลกนี้และในอนาคตคือภพเบื้องหน้า อีกทั้งสามารถพัฒนาตนให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ ด้วยการพิจารณาเห็นอริยสัจ 4 มีทุกข์อริยสัจเป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการแผนกตํารา มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2546). มังคลัตถทีปนี แปล เล่ม 1.กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

บุญมี แท่นแก้ว. (2542). ความจริงของชีวิต. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิต ภาค 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2546). เป้าหมายชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุขภาพจิต.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโญ. (2563). มังคลัตถทีปนีแปล ภาค 1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2541). มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท. ปทุมธานี: ฐานการพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ (พระธรรมโกศาจารย์). (2544). มงคลชีวิต 38. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8).นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี). (2534). มงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.