ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองจากญี่ปุ่น ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย

Main Article Content

วรวลัญช์ โสภณอุดมสิทธิ์
สุมามาลย์ ปานคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองจากญี่ปุ่นผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองจากญี่ปุ่นผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองจากญี่ปุ่นผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ และ พักอาศัยในประเทศไทย จำนวน 386 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า 2) ด้านการรับรู้คุณภาพสินค้า 3) ด้านการรับรู้ราคา และ 4) ด้านความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.94, ค่า GFI = 0.96, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.03, ค่า RMSEA = 0.05 และ ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.74 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้ออะไหล่รถยนต์มือสองจากญี่ปุ่นผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ได้ร้อยละ 74 พบว่า ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้า มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้มากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำผลวิจัยไปสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ชื่อเสียง โลโก้ให้จดจำง่าย ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เกิดความตั้งใจซื้อต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์วรา ไทยหาญ, พวงเพ็ญ ชูรินทร์, และ สิญาธร นาคพิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตรา สินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศใน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 95-120.

กรมการขนส่งทางบก. (2565). รายงานสถิติการขนส่ง 5 ปี ปีงบประมาณ 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก dlt.go.th.

พงศ์ศิริ คำขันแก้ว. (2561). การรับรู้คุณภาพของแบรนด์ : แนวคิดและมาตรวัด. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 5(2), 1-13.

ธนาคารไทยพาณิชย์. (9 พฤศจิกายน 2564). ก้าวข้ามผ่านวิกฤตพาธุรกิจโตด้วยช้อปปี้. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.scb.co.th

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (1 มีนาคม 2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2566-2568: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research

ธนาคารกสิกรไทย. (25 มีนาคม 2565). B2C E-commerce กลุ่มสินค้า ปี 2565 ขยาย 13.5% จากการดึง ส่วนแบ่งหน้าร้านโดยเฉพาะอาหารและของใช้ส่วนตัว. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://rb.gy/ehysu2

สุภัตรา แปงการิยา และ สุมาลี สว่าง. (2561). ปัจจัยการรับรู้คุณค่าที่ลูกค้าได้รับและปัจจัยคุณภาพ ความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าร้านขายยาในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 14(1), 20.

Allen, I. E. & Seaman, C. A. (2007). Likert Scales and Data Analyses. Statisics Roundtable, 65-66.

Athapaththu, J. C., & Kulathunga, K. (2018). Factors Affecting Online Purchase Intention: Effects of Technology and Social Commerce. Journal of Scientific & Technology Research, 11(10), 111-128.

Cakici, A. C., Akgunduz, Y., & Yildirim, O. (2019). The Impact of Perceived Price Justice and Satisfaction on Loyalty: The Mediating Effect of Revisit Intention. Tourism Review, 74(3), 443–462.

Carlson, J., O’Cass, A. & Ahrholdt, D. (2015). Assessing Customers Perceived Value of The Online Channel of Multichannel Retailers: A Two Country Examination. Journal of Retailing and Consumer Services, 27(6), 90-102.

Changlin, W., & Thompson, S. H. T. (2020). Online Service Quality and Perceived Value in Mobile Government Success: An Empirical Study of Mobile Police in China. International Journal of Information Management, 52(1), 1-12.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall

Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.

Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147.

Hu, L. T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.

Isoraite, M. (2018). Brand Image Development. Ecoforum, 7(14), 1-6.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Juliana, J., Djakasaputra, A., Pramono, R., & Hulu, E. (2020). Brand Image, Perceived Quality, Ease of Use, Trust, Price, Service Quality on Customer Satisfaction and Purchase Intention of Blibli Website with Digital Technology as Dummy Variable in The Use of Eviews. Journal of Critical Reviews, 7(11), 3987-4000.

Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Lisnawati, L., Suhendro, D. F. & Wibowo, L. A. (2020). Brand Image Toward the Purchase Intention on Family Car. Advances in Economics, Business and Management Research, 187(5), 503-506.

Mirabi, L., Akbariyeh, V., & Tahmasebifard, H. (2015). A Study of Factors Affecting on Customers Purchase Intention Case Study: The Agencies of Bono Brand Tile in Tehran. Journal of Multidisciplinary Engineering Science and Technology, 2(1), 267-273.

Purwanto, E. & Wibisono, A. (2019). Pengaruh Country of Origin Word of Mouth Kualitas Yang Dipersepsikan Terhadap Niat Beli. Jurnal Riset Manajemen Dan Bisnis (Jrmb) Fakultas Ekonomi Uniat, 4(3), 365–374.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2004). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). Mahwah: Lawrence Erlbaum Associates.

Samadou, S. & Kim, G. (2018). Influence of Perceived Quality, Price, Risk, and Brand Image on Perceived Value for Smartphone’s Consumers in a Developing Country. East Asian Journal of Business Economics, 6(3), 37-47.

Suhud, U. & Willson, G. (2019). Low-Cost Green Car Purchase Intention: Measuring the Role of Brand Image on Perceived Price and Quality. International Journal of Economics & Business Administration, 7(3), 238-249.

Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington, D. C.: American Psychological Association.

Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69.