การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับครูปฐมวัย

Main Article Content

อานุรักษ์ สาแก้ว
ณัฐวดี หอมสมบัติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับครูปฐมวัย 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับครูปฐมวัย โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเลือกมาอย่างเจาะจงเป็นครูผู้สอนระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 4 สันป่าก่อ สังกัดเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสังเกตการสอนและแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ครูปฐมวัยทั้งหมด มีความรู้ทักษะทางภาษาอังกฤษในด้านทักษะการพัง การพูด การอ่าน และการเขียนอยู่ในระดับ ดี และมีการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมเรียนการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยกระบวนการ PIAD Model ที่ใช้เป็นลำดับขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ครูปฐมวัยได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยรูปแบบ Paid Model ในการสอนออนไลน์และพบว่านักเรียนส่วนใหญ่พึงพอใจ และมีความสุขที่ได้เรียนออนไลน์กับครูด้วยรูปแบบ Paid Model ตลอดจนการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของครูปฐมวัย จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ สรุปว่า การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์สำหรับครูปฐมวัย สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก สนองตอบความแตกต่างอย่างหลากหลายของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมสมรรถนะภาษาอังกฤษนักเรียนระดับปฐมวัยได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพฤทธิ์ ฤทธิกุลสิทธิชัย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเน้น เนื้อหา และการปฏิบัติภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และการปฏิบัติภาระงานของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทวินทร์ ประทังคติ, พิจิตรา ธงพานิช , สฤษดิ์ ศรีขาว. (2565). ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเสริมสร้างการอ่าน การเขียนอย่างมีวิจารณญาณและการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1829-1844.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 138-170.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Holgado, A., & Penalvo, F. J. (2017). A Metamodel Proposal for Developing Learning Ecosystems. Learning And Collaboration Technologies: Novel Learning Ecosystems. Cham: Springer International Publishing.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.