การสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า ประสบการณ์ในตราสินค้า และการรับรู้คุณภาพสินค้า ด้วย QR code บนฉลากสินค้าน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ ที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ตราสินค้า ประสบการณ์ในตราสินค้า การรับรู้คุณภาพสินค้า ด้วย QR code บนฉลากน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์ ส่งผลต่อความไว้วางใจในตราสินค้า และความไว้วางใจในตราสินค้าส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า และ 2) เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ซึ่งมีรถยนต์ส่วนบุคคล หรือตัวแทนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รถยนต์จากเจ้าของรถยนต์ส่วนบุคคล ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 360 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามด้วยวิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.872 – 0.907 โดยความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า ประสบการณ์ในตราสินค้า การรับรู้คุณภาพสินค้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงต่อความไว้วางใจในตราสินค้า ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในตราสินค้าและความภักดีในตราสินค้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงมาก
2. โมเดลที่พัฒนาขึ้นตามสมมติฐานมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับโมเดลของข้อมูลเชิงประจักษ์ อธิบายได้ว่า ภาพลักษณ์ตราสินค้า ประสบการณ์ในตราสินค้า การรับรู้คุณภาพสินค้า มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความไว้วางใจในตราสินค้า และความไว้วางใจในตราสินค้า มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความภักดีในตราสินค้า ด้วย QR code บนฉลากน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร. (2564). ประชากรและการบริการราชการ. สืบค้นจาก http://www.samutsakhon.go.th/support40853/source/ citizen.pdf
กลุ่มสถิติการขนส่ง. (2564). จำนวนใบอนุญาตขับรถ และใบอนุญาตประจำรถ จำแนกประเภทใบอนุญาตปี 2564. สืบค้นจาก https://web.dlt.go.th/statistics/
กองคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง. (2563). รายงานปริมาณการค้าน้ำมันหล่อลื่น (น้ำมันเครื่อง) ประจำปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.doeb.go.th/info/data/datadistribution/lubricant_volume_report 160663.pdf
นววัฒน์ สิทธิพรม. (2558). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าผ่านสติ๊กเกอร์ของผู้ใช้ไลน์แอปพลิเคชัน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาณิศา ศรีละมัย และ ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 69-78.
มนัสมนต์ กล่ำแดง. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคร้านอาหารชาบูบุฟเฟ่ในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาร้านบุฟเฟ่ 2 ร้าน ที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,
มานิต รัตนสุวรรณ และสมฤดี ศรีจรรยา. (2558). ยุทธศาสตร์การตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2562). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.
วุฒิกร ตุลาพันธุ์. (2559). ความภักดีในตราสินค้า และคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้ากีฬาแบรนด์เกาหลี. (วิทยานิพนธ์บริการธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร. (2563). สถิติการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฏหมายว่าด้วยรถยนต์ สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรสาคร ปี 2563. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/site/ samutsakhon/m-download/3978/
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2566) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2537 เรื่อง กำหนดน้ำมันเกียร์และน้ำมันเครื่องเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2537/E/033/108.PDF
สุรพงษ์ วงปาน และอานนท์ คำวรณ์. (2560). ประสบการณ์ตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว ความพึงพอใจ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมต่อการท่องเที่ยวรูปแบบ MICE จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 1-16.
อนัญญา อุทัยปรีดา. (2558). ความเชื่อมั่นในตราสินนค้าและภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ กรณีศึกษา: ตราสินค้า COACH EST.1941 NEW YORK. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รญา มาณวพัฒน์. (2560). ประสบการณ์ ความไว้วางใจและความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้บริการ ในธุรกิจสายการบินของไทย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, 4(1), 77-85.
Alhaddad, A. (2015a). Perceived Quality, Brand Image, and Brand Trust as Determinants of Brand loyalty. Quest Journal of Research in Business and management, 3(4), 1-8.
Alhaddad, A. (2015b). A Structural Model of The Relationships Between Brand Image, Brand Trust and Brand Loyalty. International Journal of Management Research & Review, 5(3), 137-144.
Aurier, P., & Lanauze, G. S. (2012). Impacts Of Perceived Brand Relation Orientation on Attitudinal Loyalty and Application to Strong Brands in The Packaged Goods Sector. European Journal of Marketing, 46, 1602-1627.
Azize, S, C. Z., Kitapco, H. (2011). The Effects of Brand Experience, Trust and Satisfaction on Building Brand Loyalty; An Empirical Research on Global Brands. Procedia Social and Behavioral Science, 24, 1288-1301.
Brakus, J. J., Schmitt, B. H., & Zarantonello, L. (2009). Brand Experience: What Is It? How Is It Measured? Does It Affect Loyalty? Journal of Marketing, 73, 52-68.
Chinomona, R. (2013). The Influence of Brand Experience on Brand Satisfaction, Trust and Attachment in South Africa. International Business & Economics Research Journal, 122(10), 1303-1315.
Chinomona, R. (2016). Brand Communication, Brand Image and Brand Trust as Antecedents of Brand Loyalty in Gauteng Province of South Africa. African Journal of Economic and Management Studies, 7, 124-139.
Keller, K. L. (2013). Strategic Brand Management Building, Measuring, and Managing Brand Equity Global Edition. (4th ed.). England: Pearson Education.
Rahmatulloh, Y. A. A. (2018). The Influence of Brand Image and Perceived Quality on Brand Loyalty with Brand Trust as Mediator in PT Bank Syariah Mandiri. Advances in Economics, Business and Management Research, 64, 569-578.
Renee, B., & Kim, Y. C. (2019). Effect Of Brand Experience, Brand Image and Brand Trust on Brand Building Process: The Case of Chinese Millennial Generation. Journal of International Studies, 12(3), 9-21.