การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของธุรกิจนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

สมพงษ์ สุเมธกชกร
พรประภา ศรีราพร
วิทย์ เมฆะวรากุล
นิกข์นิภา บุญช่วย
สุนันทา เลาหนันทน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ด้านการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ด้านการรักษาลูกค้า ด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และด้านการจำแนกลูกค้า 2) ศึกษาการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรสาคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของธุรกิจนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 184 ร้าน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิงพารามิเตอร์ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างสองตัวแปร และ การวิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อวิเคราะห์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า


1. การวิเคราะห์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบ ด้วย ด้านการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ด้านการรักษาลูกค้า ด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และด้านการจำแนกลูกค้า พบว่า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ด้านการสร้างฐานลูกค้าใหม่ ด้านการรักษาลูกค้า ด้านการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และด้านการจำแนกลูกค้า


2. การวิเคราะห์ความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจนวดแผนไทย พบว่า ระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจนวดแผนไทย ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการตอบสนองลูกค้า รองลงมา การเป็นผู้นำด้านต้นทุน ด้านการมุ่งจุดสนใจ และด้านการสร้างความแตกต่าง


จากงานวิจัยนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยและธุรกิจบริการประเภทอื่น ๆ ควรดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานการบริการที่สม่ำเสมอ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ปลูกฝังและอบรมพนักงานให้มีใจรักในงานบริการและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ธุรกิจให้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธวัลรัตน์ วงศ์พฤกษ์ และคณะ (2564). อิทธิพลของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานขององค์กร กรณีศึกษาธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 2(2), 23-34.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์และการแข่งขัน. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผลิน ภู่จรูญ. (2565). การจัดการธุรกิจร่วมสมัย. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จากhttps://www.siamhrm.com /?name= management&file=readnews&max=219

พิบูล ทีปะปาล. (2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ภาพิมล ธนรุ่งเจริญกิจ และคณะ. (2560). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ ธุรกิจร้าน Mr. Ice Cream จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1152-1167.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์ และคณะ. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อินเฮาส์ โนว์เลจ.

ศุภณัฐ ชูชินปราการ. (2546). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน. Quality, 10(74), 32-35.

ศตพล วรกำแหง. (2557). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์กนีเวียที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการต่อร้านค้าปลีกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สุรีรัตน์ ชดช้อย. (2560). อิทธิพลการกำกับของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อการสร้างความภักดีของลูกค้าอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ(ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2560). นวดแผนไทย...ศาสตร์โบราณในโลกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก http://Thaipublicmedia.com

Ebrahiml, E., Fathi, M. R. & Irani, H. R. (2016). A New Hybrid Method Based on Fuzzy Shannon’s Entropy and Fuzzy COPRAS For CRM Performance Evaluation (Case: Mellat Bank). Iranian Journal of Management Studies, 9(2),333-358.

Julian, J. (2005). A Framework for the Implementation of a Customer Relationship Manager: Business Guide to Customer Relationship United Kingdom. UK: Prentice Hall.