นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อการศึกษาในอนาคต

Main Article Content

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาอนาคตหลังจากที่ได้รับผลกระทบการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลวิกฤตต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ภายในปี 2573 จึงต้องปรับตัวในระบบการศึกษาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสามารถเติบโตในโลกแห่งความซับซ้อนและความไม่แน่นอน ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ด้านการศึกษาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรมที่จำเป็นในการกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนในทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรูปแบบการศึกษาในทุกช่วงอายุและในทุกด้านของชีวิต โดยผ่านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในด้านการพัฒนาความรู้ ด้านทักษะ และการมีวิสัยทัศน์ของคนในสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่สมดุลและยั่งยืน สร้างอนาคตที่ดีของการศึกษาเพื่อความสำเร็จของแต่ละบุคคลและสังคมส่วนรวม ให้เกิดความอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและประชาคมโลก ซึ่งเกิดจากผลของการศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีทักษะที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยธร ลิมาภรณ์วณิชย์ และคณะ. (2565). อนาคตของการเรียนรู้. รายงาน. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์.

สอวช. และ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา. (2563). มองภาพอนาคตประเทศไทย: แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID-19. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/report/6300/

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). 3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: ดิจิทัล. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

Education Sector. (2020). Education for Sustainable Development: A roadmap. Paris: UNESCO.

Haste, H. & Chopra, V. (2020). The Futures of Education for Participation รn 2050: Educating for Managing Uncertainty and Ambiguity. Paper commissioned for the UNESCO Futures of Education report (forthcoming, 2021).

Mohd Said, M. N. & Hanafiah, M. M. (2021). Sub-regional Policy Report on ESD for 2030 in Southeast Asia. Jakarta: UNESCO.

OECD. (2020). Back to the Future of Education: Four OECD Scenarios for Schooling, Educational Research and Innovation. Paris: OECD Publishing.

OECD. (2022). Trends Shaping Education 2022. Paris: OECD Publishing.

RMIT University. (2022). The Future of Learning and Teaching: Big Changes Ahead. Retrieved November 1, 2022, from https://www.rmit.edu.au/study-with-us/education/discover-education/the-future-of-learning-and-teaching-big-changes-ahead-for-education

Maloney, J. E. & Kim, J. (2020, June 10). Learning in 2050. Retrieved November 1, 2022, from https://www.insidehighered.com/digital-learning/blogs/learning-innovation/learning-2050

Parasmal, Y. R. (2022, August 1). What Will Schools Look Like in 2050? Retrieved November 2, 2022, from https://www.edtechreview.in/trends-insights/trends/what-will-schools-look-like-in-2050

Sanghvi, S. & Westhoff, M. (2022, November). Five Trends to Watch in The Edtech Industry. Retrieved November 3, 2022, from https://www.mckinsey.com/industries/education/our-insights/five-trends-to-watch-in-the-edtech-industry