การนำหลักการสั่งซื้อที่ประหยัดไปใช้สำหรับการคัดเลือกซัพพลายเออร์ กรณีศึกษาร้านวัสดุก่อสร้าง

Main Article Content

กนกวรรณ อ่อนรักษา
เสาวนิตย์ เลขวัต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจำแนกกลุ่มสินค้าร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างโดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสินค้า 2) เพื่อคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัดในรูปแบบการสั่งซื้อแบบปัจจุบัน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการสั่งซื้อปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ กับ EOQ Discount รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา การแบ่งกลุ่มสินค้า และแนวคิดการสั่งซื้อที่ประหยัด เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการ 2 ท่านที่มีประสบการณ์ในการขายวัสดุก่อสร้างมากกว่า 20 ปี ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลจากการจำแนกกลุ่มสินค้าร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสินค้า พบว่า สามารถจำแนกสินค้าได้เป็นกลุ่ม A B และ C  โดยสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม A พบมีมูลค่าร้อยละสะสมสูงประมาณ 70-80 จากรายการสินค้าทั้งหมด


2) ผลการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัดในรูปแบบการสั่งซื้อแบบปัจจุบัน พบว่า ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดในรูปแบบต้นทุนการสั่งซื้อปัจจุบันทำให้ได้ต้นทุนรวมจากการสั่งซื้อสินค้ากลุ่ม A เท่ากับ 240,744 บาท


3) ผลการเปรียบเทียบการสั่งซื้อปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พบว่า การสั่งซื้อที่ประหยัดแบบมีส่วนลดตามปริมาณทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมต่ำมากกว่าการสั่งซื้อในแบบปัจจุบัน ร้อยละ 2.45

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรม เพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.

พุทธชาด ลุนคา. (25 มิถุนายน 2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Materials/IO/io-construction-materials-21

ศานิต ธรรมศิริ, ภคพร ผงทอง และ ชัยวัสส์ ติวสร้อย. (2565). เทคโนโลยีบริหารจัดการวัสดุหมุนเวียนในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน กรณีศึกษาธุรกิจพาเลทให้เช่า. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 364-379.

อภิรดี สราญรมย์. (2565). คุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการรับบริการสเตเคชั่น. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1740–1754.

อัญชนา คุ้มญาติ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าฉลากคาร์บอนในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 151-161.

Rushoton, A., Croucher, P. & Baker, P. (2008). The Handbook of logistics and distribution management. USA: British Library.

Leenders, M. R., et at. (2006). Purchasing and Supply Management: with 50 Supply Chain Cases. Boston: McGrae-Hill.

Pareto, V. (2015). Pareto’s legacy in modern economics the case of psychology. Retrieved from https://journals.openedition.org/ress/759?lang=en

Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.