ปัจจัยเชิงสาเหตุของความตั้งใจคงอยู่ของพนักงานธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของบรรยากาศองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความตั้งใจคงอยู่ 2) บรรยากาศองค์กร และความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร 3) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์กรและความตั้งใจคงอยู่ และ 4) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของบรรยากาศองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความตั้งใจคงอยู่ อยู่ในระดับมาก 2) บรรยากาศองค์กรส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร) และความพึงพอใจในการทำงานส่งผลต่อความตั้งใจคงอยู่กับองค์กร 3) ความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างบรรยากาศองค์กรและความตั้งใจคงอยู่ และ 4) ความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความพึงพอใจในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ และผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างมีค่าผลของโมเดลที่เหมาะสม ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ CMIN/df = 1.82, GFI = 0.92, CFI = 0.92, NFI=0.95, RMSEA = 0.07
ประโยชน์ที่ได้รับจากผลการวิจัยนี้ทางผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในอนาคต เพื่อสร้างบรรยากาศในองค์กร ความพึงพอใจ และความผูกพันของพนักงาน ซึ่งเป็นการธำรงรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรรัช กุณรินทร์ และ จิราพร ระโหฐาน. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการตำแหน่ง เสมียนตราอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 104-115.
กันติทัต โกมลเสนาะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพนักงานมหาวิทยาลัยเจนเนอเรชั่นวาย ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับการของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย(วิทยานิพนธ์รับประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). (2563). รายงานความยั่งยืน ปี 2563. สืบค้นจาก https://www. bangkokbank.com/-/media/files/investor-relations/sustainability-report/2020 /sr2020_th.pdf?la=th-h&hash=324C5355C8E1DE767DDCF7DA7989B2E80E5F5B0E.
ธนัช ชูพรหมวงศ์. (2557). บทบาทสื่อบุคคลในการบริหารจัดการตราสินค้าองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธัญญาวดี เพ็งตะโก. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลต่อความตั้งใจอยู่ในองค์การของวิศวกรบริษัทญี่ปุ่น ในเขตประกอบการเสรีนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พิพากร เลขภัสร์. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของลักษณะ บุคลิกภาพเชิงรุกและการรับรู้บรรยากาศองค์การที่มีต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานโดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรสื่อของพนักงาน บริษัท ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า. HR intelligence, 15(1), 39-56.
ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(142), 16-32.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน, ชลิดา ศรมณี, เฉลิมพล ศรีหงษ์, เสาวลักษณ์ สุขวิรัช และ วิโรจน์ ก่อสกุล. (2561). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 873-895.
Alavi, H. R., & Jahandari, R. (2005). The Organizational Climate of Kerman Shahid Bahonar Universuty: Its Comparison with Desired Organization Climate from the Viewpoints of the Personal (Staff) of the University. Public Personal Management, 34(3), 247-261.
Aube, C., Brunelle, E., & Rousseau, V. (2014). Flow Experience and Team Performance: The Role of Team Goal Commitment and Information Exchange. Motivation & Emotion, 38(1), 120-130.
Imran, R., Majeed, M., & Ayub, A. (2015). Impact of Organizational Justice, Job Security and Job Satisfaction on Organizational Productivity. Journal of Economics, Business and Management, 3(9), 840-845.
Kulesa, P. (2003). Keeping the Good Apples. Criminology and Law Enforcement, 47(8), 32-35.
Luthans, F., Avolio, B. J., Avey, J. B., & Norman, S. M. (2007). Positive Psychological Capital: Measurement and Ralationship with Performance and Satisfaction. Personnel Psychology, 60(1), 541–572.
Mathis, R. L., & Jackson, J. H. (2004). Human Resource Management. Ohio: South-Western College Publishing.
Neuhauser, C. (2002). Learning Style and Effectiveness of Online and Face-to-Face Instruction. The American Journal of Distance Education, 16(2), 99-113.
Schaufeli, W. B., Bakker, A. B., & Salanova, M. (2006). The Measurement of Work Engagement With a Short Questionnaire: A Cross-National Study. Educational and Psychological Measurement, 66(4), 701-716.
Steers, R. M., & Porter, L. (1979). Motivation and Work Behavior. New York : McGraw-Hill.
Vanaki, Z., & Vagharseyyedin, S. A. (2009). Organizational Commitment, Work Environment Conditions, and Life Satisfaction Among Iranian Nurses. Nursing and Health Sciences, 11(1), 404-409.
Yuan, K. H., Wu, R., & Bentler, P. M. (2011). Ridge Structural Equation Modelling with Correlation Matrices for Ordinal and Continuous Data. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 64(1), 107-133.