โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการแอปพลิเคชั่นบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้งของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เรขญา จุลวรรคนานนท์
ประพล เปรมทองสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ประโยชน์ในการใช้ การรับรู้ความง่ายในการใช้ การรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ ทัศนคติ และการใช้บริการ 2) อิทธิพลของการรับรู้ความง่ายในการใช้ การรับรู้ประโยชน์ในการใช้ และการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ ที่มีต่อทัศนคติ และ3) อิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อการใช้บริการ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการรายย่อย จำนวน 300 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.908 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กัน และไม่เกิดปัญหา Multicollinearity วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-25,000 บาท 1) ระดับความคิดเห็นของการรับรู้ประโยชน์ในการใช้ การรับรู้ความง่ายในการใช้ การรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ ทัศนคติ อยู่ในระดับมาก และการใช้บริการ อยู่ในระดับปานกลาง 2) การรับรู้ความง่ายในการใช้ การรับรู้ประโยชน์ในการใช้ และการรับรู้ความเสี่ยงในการใช้ มีอิทธิพลต่อทัศนคติ และ 3) ทัศนคติมีอิทธิพลต่อการใช้บริการ ข้อค้นพบ แนวทางในการพัฒนาการให้บริการแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับโมบายแบงก์กิ้ง เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวรินทร์ สิงห์คำ และ พรทิพย์ รอดพ้น. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2), 60-74.

จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO Enterprise Risk Management 2017. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(42), 111-124.

ฉัตรชัย อินทสังข์, ศศิฉาย พิมพ์พรรค์ และ อภิ คำเพราะ. (2562). การรับรู้คุณภาพการบริการ: ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 1-12.

ชไมพร ขนาบแก้ว และ กนกพร ชัยประสิทธิ์. (2562). ทัศนคติและการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ การใช้ E-Payment ผ่านธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 574-78.

ธนาคารกรุงเทพ. (2564). โมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารกรุงเทพ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbank.com/ th-TH/Personal/Digital-Banking/Bualuang-mBanking

ธัญรดา ธนสารโสภณ และ พีรภาร์ ทวีสุข. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนของ Generation X ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 20(2), 120-134.

นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรมเพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.

บัญชา หมั่นกิจการ และ พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2562). แบบจำลองเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-payment) ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์, 37(3), 30-39.

ปภาวี เนตรอรุณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและการใช้บริการกระเป๋าเงินอิเล็ก ทรอนิกส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Generation X และ Y ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 5(2), 6-24.

วริษฐา สุริยไพฑูรย์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้ความมีประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านระบบพาณิชย์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ศิริยศ จุฑานนท์. (2561). นวัตกรรมด้านงานวิจัยสำหรับตลาดทุนยุคใหม่ที่เปลี่ยงแปลงอย่างรวดเร็ว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สุมามาลย์ ปานคำ และ ภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1120–1136.

อนาวิล ศักดิ์สูง, อัศนีย์ ณ น่าน และ ฑัตษภร ศรีสุข. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 162-174.

อภิรดี สราญรมย์. (2565). คุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการรับบริการสเตเคชั่น. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1740–1754.

อุบลวรรณ ขุนทอง, นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ และ บุญธรรม ราชรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน กรณีศึกษาระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน ด้วยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(32), 23-36.

Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York : Guilford Press.

Mikes, A. (2009). Risk Management And Calculative Cultures. Management Accounting Research, 20(1), 18–40.

Moeller, R. R., (2007). COSO Enterprise Risk Management: Understanding the New Integrated ERM Framework. New York: John Wiley & Sons.

Yuan, K.-H., Wu, R., & Bentler, P. M. (2011). Ridge Structural Equation Modeling with Correlation Matrices for Ordinal and Continuous Data. British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 64(1), 107–133.

Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.