คุณภาพการบริการธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง

Main Article Content

วัชรากร พึ่งสุจริต
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการธนาคารกสิกไทย สาขาแหลมฉบัง เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้มารับบริการต่อคุณภาพการบริการของธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง โดยแบ่งตามข้อมูลทั่วไปของผู้มารับบริการ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ของผู้มาใช้บริการ และประเภทการมารับบริการ การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการเปรียบเทียบแบบรายคู่ โดยวิธี Least Significant Difference (ISD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า


1. ผู้มารับบริการมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการของธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง พบว่า ความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเอาใจใส่ต่อผู้มาใช้บริการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความเชื่อมั่น ด้านความสามารถจับต้องได้ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความตั้งใจที่จะให้บริการด้วยความรวดเร็วตามลำคับ พฤติกรรมของผู้มารับบริการ


2. ผู้รับบริการที่มีอาชีพ และประเภทการมารับบริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการ ธนาคาร กสิกร ไทย สาขาแหลมฉบัง แตกต่างกันอย่างมึนัยสำคัญที่ .05 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนของผู้รับบริการ มีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการ ธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง ไม่แตกต่างกัน


สรุปคุณภาพการบริการของธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง อยู่ในระดับดีมาก โดยที่ผู้รับบริการที่มี อาชีพและประเภทการมารับบริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลธิชา ศรีบำรุง. (2557). คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ สาขาดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญณรงค์ เลาหวรรณธนะ. (2562). การศึกษาคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจตามแบบจำลอง ACSI การเงินและการธนาคาร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

Fitzsimmons, J. A. & Fitzsimmons, M. J. (2004). Service Management: Operations, Strategy and Information Technology. (4th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Kotler, P., & Anderson, A. R. (1987). Strategic Marketing for Nonprofit Organizations. New Jersey: Prentice-Hall.

Parasuraman, Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). Servqual: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.