ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเล่นการพนันของนิสิต ระดับปริญญาตรี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีที่มาจากการที่ปัจจุบัน ปัญหาการพนันได้แพร่หลายอยู่ในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งจะส่งผลเสียในอนาคต คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาภายใต้แนวคิดเพื่อให้ทราบปัจจัยสภาพแวดล้อมพื้นฐาน ตลอดจนตัวแปรหรือปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเล่นการพนันของนิสิต เพื่อสะท้อนข้อมูลให้ภาครัฐได้นำไปปรับปรุงนโยบายต่อไป โดยอาศัยกลุ่มตัวอย่างจากนิสิตระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา อ้างอิงตัวเลขจำนวนนิสิตระดับปริญญาตรีจากกองทะเบียนและประมวลผลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 36,481 คน โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งการวิจัยนี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นแนวทางในการศึกษา
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า มีนิสิตจำนวนร้อยละ 62 ของกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์การเล่นการพนัน และที่น่าสนใจยิ่งขึ้นคือ ร้อยละ 6.5 ของนิสิตที่เคยมีประสบการณ์การเล่นการพนันมีการเล่นการพนันอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ ยังพบอีกว่านิสิตที่เล่นการพนันส่วนใหญ่กลุ่มเพื่อนก็มีการเล่นการพนันด้วยเช่นกัน โดยสถานที่ที่มีการพบเห็นการเล่นการพนันมากที่สุดคือ หอพักร้อยละ 35.1 และรองลงมาคือบ้านพักร้อยละ 26.3 ฉะนั้น คณะผู้วิจัย จึงได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวไว้ว่า ให้มีการปลูกฝังเยาวชนให้รับรู้ถึงพิษภัยของการพนันตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถานศึกษาและภาครัฐ และได้ให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการและการทำวิจัยไว้ว่า ควรทำการศึกษาโดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งทำการศึกษาจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของภาครัฐด้วย
Article Details
References
กรองทอง สุขปุณพันธ์. (2556). มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ศึกษากรณีการส่งข้อความสั้น (SMS) เสี่ยงโชคทางอิเล็กทรอนิกส์(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เฉลิมพล พลมุข. (2557). การพนันกับสังคมไทย. มติชนรายวัน. วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557.
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ. (2550). ทัศนคติและพฤติกรรมการพนันเล่นหวยของประชาชนคนกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจักษ์ กุลพานิช. (2550). คำสอนในพุทธศาสนาที่มีต่อการพนัน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2536). สังคมวิทยา ว่าด้วยอาชญากรรมและการลงโทษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิทักษ์พงษ์ พันธุประยูร. (2557). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 กับการพนันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
วิชญ์ศุทธ์ เมาระพงษ์. (2557). สร้างกลไกการยอมรับด้วย Stakeholder Analysis. TPA News, 18(205), 8-9.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2554). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมชาย หาญหิรัญ และจิตรลดา ใหม่ศาสตร์. (2551). การวิเคราะห์พฤติกรรมความเสี่ยงของการพนันฟุตบอล. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 5(1), 10-24
สรรเสริญ ปิ่นทอง. (2553). ทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 ต่อปัญหาการปราบปรามการพนันทายผลฟุตบอลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรเชษฐ์ รุ่งเรือง. (2555). การใช้บังคับกฎหมายการพนันหวยเถื่อน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุระชัย ชูผกา. (2557). รายงานการสังเคราะห์ความรู้เรื่องการพนันในสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระหว่างปี 2555-2556. นนทบุรี: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
สุริยะ พ่วงสมบัติ. (2550). การพนันฟุตบอลของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวัฒนา ไพรแก่น. (2551) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการติดการพนัน : กรณีบ่อนไพ่ ศึกษาอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2540). ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ. ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอน ชุดวิชา 33303 นโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
Anderson, J. (1994). Public Policy Making. New York: Houghton Miffin.
Dunn, W. N. (1994). Public Policy Analysis: An introduction. (2nd ed.) New Jersey: Prentice-Hall.
Dye, T. (1978). Understanding Public Policy. (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall
Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H. (2000). Organization Behavior Structure Process. (10th ed.). New York: McGraw –Hill.
Sharon, S. B., & Saul, M. K. (1996). Social Psychology. (3rd ed.). Boston: Houghton Mifflin.
Yamane, T. (1967). Statistics: An introduction Analysis. (3rd ed.) New York: Harper & Row.