บทบาทพระสงฆ์ต่อการอนุรักษ์ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พระมหาธารภัทร เจริญธรรม
สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ประเพณีรับบัววัดบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  จากการศึกษาพบว่า ประเพณีรับบัวเกิดขึ้นมาจากคติความเชื่อ ความเลื่อมใสและศรัทธาในศาสนาพุทธ โดยมีดอกบัวเป็นสื่อสัญลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตที่มีความสุข โดยร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้พร้อมใจกันจัดขึ้นมา เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี ความมีน้ำใจ ความยุติธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต  บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ประเพณีรับบัว คือ การดึงคนในชุมชนให้เข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ทั้งในส่วนของการเข้าร่วมและการจัดงาน โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นในการจัดงาน รวมทั้งเน้นการประสานงานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ตลอดจนการอนุรักษ์ รักษาความสะอาดของน้ำในลำคลองสำโรงเพื่อเป็นการจัดภูมิทัศน์ สีสันให้สมกับที่ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีทางน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2504). ประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ และประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ในพระราชพงศาวดาร เล่ม 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรมศิลปากร. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ฉบับพระยาทิพากรวงศ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

จันทร์เพ็ญ ลาภมากผล. (2563). ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน. สัมภาษณ์, 14 มกราคม.

ณัฐนันท์ วงษ์ประเสริฐ. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 3(2), 1-18.

ประพล จิตคติ. (2564). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 73-86.

พระครูสมุห์ อานนท์ อานนฺโท, พระปลัดสมชาย ปโยโค และ พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท. (2562). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คติธรรมในพิธีกรรมเทาะอะโย่งกย้าจก์ของชาวมอญ ในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3),417-428.

พระครูสังฆรักษ์กิตติ กิตฺติวํโส. (2563). พระธรรมทูตอำเภอบางพลี. สัมภาษณ์, 2 มกราคม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชเสนาบดี (จรัล สิริธมฺโม). (2563). เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง. สัมภาษณ์, 13 มกราคม.

พัฒนพงศ์ จงรักดี. (2563). นายกเทศมนตรีตำบลบางพลี. สัมภาษณ์, 12 มกราคม.

ไพรวัน จงรักดี. (2563). ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี สมุทรปราการ. สัมภาษณ์, 24 มกราคม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนา ชัยกัลยา. (2564). กลยุทธ์การตลาดสีเขียวที่มีผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของชาวไทยในเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 202-213.

วีร์สุดา รุ่งเรือง. (2563). กำนันตำบลบางพลีใหญ่. สัมภาษณ์, 3 มกราคม.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2538). ชีวิตไทยชุดบรรพบุรุษของเรา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

สุรีย์ บุญญานุพงศ์ และสุรศักดิ์ ป้อมทองคำ. (2545). ประเพณีการท่องเที่ยว: จุดเปลี่ยนของระบบความสัมพันธ์ทางสังคม. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หยี่ฟาง แซ่ฟาง. (2564). การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 134-149.