ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพละ 5 กับอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพละ 5 กับอิทธิบาท 4 มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาพละ 5ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาอิทธิบาท 4 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพละ 5 กับอิทธิบาท 4
ผลการวิจัยพบว่า พละ 5 หมายถึง ธรรมอันเป็นกำลัง องค์ธรรมของพละมี 5 ประการ คือ 1) สัทธาพละ กำลังคือศรัทธา ศรัทธา ได้แก่ ความเชื่อมั่นในทางที่ถูกต้อง เป็นกำลังหนุนจิตที่เข้มแข็ง 2) วิริยะพละ กำลังคือวิริยะ วิริยะ กล้าต่อสู้กับอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อ 3) สติพละ กำลังคือสติ สติ ความระลึกได้ 4) สมาธิพละ กำลังคือสมาธิ สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต 5) ปัญญาพละ กำลังคือปัญญา ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่ว รอบรู้ อิทธิบาท 4 หมายถึง คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย องค์ธรรมของอิทธิบาท มี 4 ประการ คือ 1) ฉันทะ รักงาน พอใจกับงานที่ทำอยู่ อย่างมีใจรัก 2) วิริยะ ขยันหมั่นเพียรกับงาน พากเพียรทำ 3) จิตตะ เอาใจใส่รับผิดชอบงาน จดจำจ่อจิต 4) วิมังสา ทำงานด้วยปัญญาใช้ปัญญาพิจารณาวินิจวิฉัย อิทธิบาท 4 เป็นองค์ธรรมที่เป็นบันไดก้าวสู่ความสำเร็จที่ดีเยี่ยมและเป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นเครื่องมือพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์พร้อม ความสัมพันธ์ระหว่างพละ 5 กับ อิทธิบาท 4 เมื่อนำไปปฏิบัติ โดยมีธรรม 2 หมวดนี้ใช้ร่วมกัน ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในด้านการปฏิบัติธรรม ด้านการศึกษา และการทำงาน เป็นไปเพื่อจุดหมายเดียวกัน โดยใช้อิทธิบาท 4 เป็นแกนนำขับเคลื่อน และใช้พละ 5 เป็นพลังงานขับเคลื่อนจากภายใน ซึ่งเป็นกำลังเกื้อหนุนจิตใจ ให้เข้มแข็ง เป็นหลักธรรมประคับประคอง คือ สัมพันธ์กันทั้ง 2 หลักธรรม โดยใช้เป็นเครื่องมือกันและกัน เกื้อกูลกัน สามารถสร้างความมั่นคงให้กับบุคคลในการปฏิบัติธรรม การศึกษา และการปฏิบัติงาน นำไปสู่ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดีและเจริญยิ่งขึ้นตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พิทูร มลิวัลย์. (2528). คู่มือการศึกษาโพธิปักขิยธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ.
พุทธทาสภิกขุ. (2541). โพธิปักขิยธรรม ธรรมะสูงสุดแห่งการรู้แจ้ง 37 ประการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วสิน อินทสระ. (2549). พุทธจริยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมดา.