ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุง พัฒนา คุณภาพ การให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบกิจการที่มาใช้บริการโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบกิจการที่เข้ารับบริการกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 202 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียรสัน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาแยกการบริการเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากรผู้ให้บริการ และการวิเคราะห์โดยการใช้ถดถอยพหุคูณเพื่อพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 3 ตัว ปัจจัยด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ปัจจัยด้านการส่งเสริม/ แนะนำ และปัจจัยด้านความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ
Article Details
References
กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2556). การจัดการการบริการ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2546). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติ การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/068/34.PDF
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2551). ถอดรหัสเศรษฐศาสตร์เพื่อเข้าใจเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ศักราช สุวรรณรังษี, ภณิตา สุนทรไชย และ นิศารัตน์ โชติเชย. (2562). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 61-78.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวาณิช และปริญ ลักษิตานนท์. (2546). การบริหาร การตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สมภพ มานะรังสรรค์. (2552). จาก The great depression สู่วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ : การเคลื่อนตัวของศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐอเมริกาสู่จีน. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
สรชัย พิศาลบุตร. (2549). สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทำได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
อรทัย ก๊กผล. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่น: บทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า’ 51. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์ จำกัด.
Gronroos, C. (1990). Relationship Approach to Marketing in Service Contexts: The Marketing and Organizational Behavior Interface. Journal of Business Research, 20 (1), 3-17.
Luwis, R. C., & Blooms, B. H. (1983). The Marketing Aspect of Service Quality. In L. Berry, G. Shostack, and G. Upah, (Eds). Emerging Perspective on Service Marketing. Chicago: American Marketing Association.