การพัฒนาบทเรียน E-Learning รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ T5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย โดยใช้ โมเดลการเรียนรู้ T5 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนการสอนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย โดยใช้ โมเดลการเรียนรู้ T5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย โดยใช้ โมเดลการเรียนรู้ T5 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีจำนวน 117 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ (1) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 72 คน และ (2) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 45 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียน e-Learning ตามโมเดลการเรียนรู้ T5 รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย จำนวน 13 ชั่วโมง 2) แบบประเมินหาประสิทธิภาพบทเรียน e-Learning ตามโมเดลการเรียนรู้ T5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ชุด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย ผ่านบทเรียน e-Learning ตามโมเดลการเรียนรู้ T5 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียน e-Learning ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลการเรียนรู้ T5 มีประสิทธิภาพต่อนักศึกษา โดยมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 เท่ากับ 80.91/80.18
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนทดสอบก่อนเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนสูงกว่าผลคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) รายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาวัฒนธรรมไทย โดยใช้ โมเดลการเรียนรู้ T5 พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กัลยา เพชรเพริศ. (2552). การพัฒนาสื่อการอิเลคทรอนิคส์วิชาอังกฤษ 1 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
เกริก ท่วมกลาง และ จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์
โปรเกรสซิฟ จำกัด.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: วงกมลโพรดักชัน.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทร์พงศ์ พงศ์ภัทรกานต์. (2556). การศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 73-84.
สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ และคณะ. (2550). การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ โดยใช้ T5 Model. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. New York: The Science Press.
Madsen, H.S. (1983). Techniques in testing. New York: Oxford University Press.
Salter, D., Richards, L., & Carey, T. (2004). The ‘T5’ Design Model: An Instruction Model and Learning Environment to Support the Integration of Online and Campus-Based Courses. Educational Media International, 41(3), 207-217.