ศึกษาการดำรงชีวิตความเป็นสามเณรในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา

Main Article Content

พระมหาทวีโชค ธนภัทร์เกษมชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการดำรงชีวิตความเป็นสามเณรในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสามเณรในพระพุทธศาสนา 2)เพื่อศึกษาแนวทางการบรรลุธรรมของสามเณรในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า สามเณร คือ กุลบุตรผู้มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยการรักษาศีล 10 สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ สามเณรราหุล ได้รับการบรรพชาด้วยติสรณคมนูปสัมปทา แนวทางการดำเนินชีวิตของสามเณรแต่ละรูปได้บำเพ็ญเพียรบารมีแตกต่างกัน บางองค์เกิดในตระกูลสามัญชน บางองค์เกิดในตระกูลเศรษฐี เกิดความเลื่อมใสจึงบรรพชาในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุจูงใจแตกต่างกัน แต่ละท่านได้เคยสั่งสมบารมีมาในอดีตชาติ แล้วระลึกชาติถึงพระพุทธเจ้าที่ตนเคยพบในอดีต และนึกถึงบุพกรรมที่ตนเคยทำมาในอดีต ก็สามารถบรรลุธรรมก่อนออกบวช บางรูปมีอินทรีย์สมบูรณ์ถึงพร้อมด้วยอธิมุตติ เมื่อพิจารณาตามที่พระอาจารย์สอน จึงได้บรรลุธรรมในขณะปลงผม บางรูปบรรลุธรรมในขณะบวชเป็นสามเณร บางรูปได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์หลังจากอุปสมบทเป็นภิกษุ ทุกรูปมีภาวะที่เคยบำเพ็ญบารมีและบำเพ็ญเพียรเป็นกำลังหนุนให้บรรลุธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจบ บรรณรุจิ. (2536). อสีติมหาสาวก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ: เอสอาร์ปริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2541). สามเณรเหล่ากอแห่งสมณะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย