แนวทางการเสริมสร้างกตัญญูกตเวทีในการดำเนินชีวิตตามหลักคัมภีร์พุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูธรรมสารโกศล สมรศักดิ์ ธมฺมสนฺติโก
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางการเสริมสร้างกตัญญูกตเวทีในการดำเนินชีวิตตามหลักคัมภีร์พุทธศาสนา” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของกตัญญูกตเวทีกตเวทีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาความกตัญญูในวิถีชีวิตของชาวพุทธในสังคมปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความกตัญญูในการดำเนินชีวิตในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า ความกตัญญูกตเวทีกตเวที เป็นคุณธรรมที่สำคัญสำหรับมนุษย์ชาติเป็นคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ ทำให้มีความสัมพันธ์กันในสังคมมนุษย์และเป็นบ่อเกิดแห่งความรับผิดชอบต่อความเป็นมนุษย์และเป็นคนนำธรรมเบื้องต้นของมนุษย์ธรรมทั้งหลายเพราะเป็นเครื่องทำลายความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของความดี เป็นเหตุให้เกิดความสุขุมรอบคอบ ความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบโดยลำดับ กตัญญูในวิถีชีวิตของชาวพุทธในสังคมปัจจุบันนั้น พบว่า สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้วิถีชีวิตของคนไทยมีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต คนไทยส่วนหนึ่งในปัจจุบันมีความเห็นว่าวัตถุเป็นสิ่งที่ให้ความสุขสูงสุดจึงพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะหาเงินทำให้ไม่มีเวลาอยู่กับลูก ลูกบางคนมีความเข้าใจว่าการที่พ่อแม่หรือครูบาอาจารย์ก็ทำสิ่งใดให้ตนนั้นก็เพราะทำตามหน้าที่เท่านั้น จึงไม่มีบุญคุณต่อตนและไม่จำเป็นที่จะต้องทดแทนคุณนั้น การตอบแทนบุญคุณผู้ที่ให้การอุปการะแก่เราในทางที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็นการตอบแทนที่ประกอบด้วยคุณธรรมและศีลธรรมพร้อมด้วยปัญญาดังเช่นตัวอย่างในคัมภีร์พระพุทธศาสนา การส่งเสริมความกตัญญูกตเวทีที่ถูกต้องในสังคมไทย พบว่า รัฐบาลควรสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนเพื่อให้สำนึกในความกตัญญูกตเวที ประการสำคัญต้องปลูกฝังความกตัญญูกตเวทีโดยเริ่มจากสถาบันครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์ เส็งประชา. (2544). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 36). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2525). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.
วิทยากร เชียงกูล. (2553). ศาสตร์และศิลปะในการเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สายธาร.
สุริชัย หวันแก้ว. (2552). ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยบนความหลากหลายและสับสน. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.