การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาของพนักงาน ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์
พระครูโอภาสราธิคุณ ชาตรี อาสโภ
พรภิรมย์ ยอดบุญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร  และพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 243 คน และสัมภาษณ์ ผู้บริหาร และพนักงาน 3 บริษัท จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และการสนทนากลุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม จำนวน 8 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สัมภาษณ์แบบเจาะลึก และแบบสนทนากลุ่ม  ผลการวิจัยพบว่า


  1. คุณภาพชีวิตของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า กลุ่มประชากรมีคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพกายระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านจิตใจมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านสัมพันธภาพทางสังคม มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิ่งแวดล้อม มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และคุณภาพชีวิตโดยรวม มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง

  2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนาของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ หลักอายุสสธรรม 5 หลักศีล สมาธิ ปัญญา หลักสังคหวัตถุ 4 และหลักสัปปายะ 7 หากบุคคลฝึกตนพัฒนาตนตามหลักธรรมดังกล่าว ก็จะสามารถเป็นคุณเครื่องให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

  3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวพระพุทธศาสนา มี 4 ดังนี้ 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจ 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการทำงาน 3) การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 4) การสร้างเครือข่ายคุณธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพล พรหมมี และ พรภิรมย์ ยอดบุญ. (2560). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมแก่ประชาชนในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชุมพร ฉํ่าแสง และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ. (2547). พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฌานวัฒน์ บุญพิทักษ์ และคณะ (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตแนวพุทธของชาวสวนยางพาราภาคตะวันออกในภาวะราคายางพาราตกต่ำ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(ฉบับพิเศษ), 272.
ปราชญา กล้าผจัญ. (2543). แนวโน้มและพัฒนาการทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญหนา อโสโก. (2542). พระไตรปิฏกฉบับทางพ้นทุกข์ ภาค 2 การปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชฉบับมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ บุษยะมา. (2551). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
สาริกา หาญพานิชย์. (2558). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 32(3), 25-48.
สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2557). กลยุทธ์การบริหารต้นทุนในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารนักบริหาร, 34(1), 60-68.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถานบันราชภัฏเทพสตรี. .
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กลุ และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.