ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของพนักงาน บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ศุภโชค อุนบูรณะวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในองค์การกับประสิทธิภาพในการทำงาน ของพนักงาน บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือการวิจัยในรูปแบบของแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ จำนวน 170 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี  สถานภาพโสด  มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 5 ปี ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบPearson (Pearson’s Product Moment Correlation)และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการทดสอบสมมติฐาน จากการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ คือ ปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ ทั้ง 4 ด้าน พยากรณ์ พบว่า ความเต็มใจในการทำงาน (Sig 0.016) และ ความเชื่อมั่นและการยอมรับเป้าหมายและค่านิยม (Sig 0.963) ที่ไม่สามารถพยากรณ์ ประสิทธิภาพในการทำงานได้ ส่วนความต้องการดำรงความเป็นสมาชิกภาพ และ ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          ดังนั้นความผูกพันต่อองค์การ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.686 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ75.4 (R2=0.754) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์ เท่ากับ 0.179

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ มั่งนุ้ย.(2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกสิกรไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานปฏิบัติงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ขนิษฐา เพิ่มชัย. (2550). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ไทย เคเค อุตสาหกรรม จำกัด(ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนิดา เล็บครุฑ. (2554). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ซัลวานา ฮะซานี. (2550). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานโรงงานแยก ก๊าซธรรมชาติ จังหวัดระยอง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(สารนิพนธ์คณะทรัพยากรมนุษย์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ตริษา แซ่จึง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากร สำนักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธนรัฐ นาทอง.(2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานธนาคารออมสินภาค 5(การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปาริชาติ พงษ์ชัยศรี.(2552). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมสรรพากรภาค 5(วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิทูร อมรวิทวัส. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิผลด้าน แรงงานสัมพันธ์ของภาคอุตสาหกรรมและบริการจังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
แสงเดือน รักษาใจ. (2554) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่(การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อุษณะ อำนาจสกุลฤทธิ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี(วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.