บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ชุติมาพร เชาวน์ไว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวม 290  คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ผู้บริหารสถานศึกษา แสดงบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงที่สุดไปต่ำที่สุดได้ดังนี้ ด้านการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ด้านการกำหนดนโยบาย  ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผล  และด้านการสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

  2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดต่างกัน และปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันต์ฤทัย คลังพหล. (2561). วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ถิรมนัส ยอดบุญมา. (2551). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2(วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เบญญาภา อินต๊ะวงค์. (2556). การบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอำเภอปาง จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปฐวี มณีวงศ์. (2558). การบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
เพลินทิพย์ ตาแก้ว. (2553). การพัฒนาสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
มณทิพย์ ทรงกิตติไพศาล. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัฐเขต ศรีเกื้อกูล. (2552). การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นในการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนบ้านทรายทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เรณุกา ศรีสวัสดิ์. (2560). การบริหารแหล่งเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วรจักร ใจแกล้ว. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สุรเกียรติ งามเลิศ (2557). บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อดิพันธ์ อมาตยคง. (2552). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม(รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัษราวุฒิ จันทะแสง. (2557). การบริหารแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของผู้บริหารในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อุมาวดี ยลวงศ์. (2553). สภาพปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
Keefe, D. D. (2003). A Case Study of the Integration of a Video Learning Center at an Elementary School. Dissertation Abstracts International, 64 (5), 1613-A.
Turner. J. H. (2002). The Structure of Sociological Theory. Illinois: Dancy Press.