สาเหตุของการกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงภายในทัณฑสถานหญิงกลาง

Main Article Content

วรินทร์ญาภา เมืองไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุของการกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงภายในทัณฑสถานหญิงกลาง รวมถึงศึกษาการลงโทษและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงภายในทัณฑสถานหญิงกลาง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ต้องขังหญิงภายใน ทัณฑสถานหญิงกลางที่กระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 20 คน 2) เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์  ผู้มีหน้าที่ควบคุมและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังหญิงภายในทัณฑสถานหญิงกลาง จำนวน 3 คน ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการกระทำผิดซ้ำในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงภายในทัณฑสถานหญิงกลาง เกิดจากตัวผู้กระทำผิดได้กระทำความผิดตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ระหว่างอายุ 17-20 ปี และไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา มีครอบครัวไม่สมบูรณ์พ่อแม่แยกทางกัน คบเพื่อนที่ติดยาเสพติด ถูกเพื่อนชักชวนให้เสพยาเสพติด รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีความเชื่อเกี่ยวกับการกระทำผิดว่า การค้ายาเสพติดมีรายได้ดี ได้เงินเร็วกว่าอาชีพอื่น หรือหากถูกจับได้ ก็ยอมรับผลการกระทำผิด ถือเป็นเรื่องปกติ


          

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. (2561). คู่มือการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังตามลักษณะแห่งคดีและพฤติการณ์การกระทำผิด. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://br.correct.go.th/spn/uploadfiles /prison_manual.pdf
กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. (2562). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/ report_result.php?
กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. (2562). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.correct.go.th/recstats/index.php/th/Home#
คม เหล่าบุตรสา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาในคดีเสพยาเสพติด ประเภท 1 (ยาบ้า) ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ(รายงานการค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://law.stou.ac.th/ dynfiles/%E0%B8%81%E0%B8%A1.
เดชา จินตกสิการ, สัญญา เคณาภูมิ และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2560). รายงานการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิศากร อุบลสุวรรณ. (2557). การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บัณฑิต พิทักษ์สิทธิ์. (2556). การวิเคราะห์สาเหตุการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติด: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง(เอกสารวิชาการการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 17). วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.
ประเทือง ธนิยผล. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา, (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรรษพร สุวรรณากาศ. (2559). แนวทางพัฒนางานสืบเสาะและพินิจกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรา สินลอยมา. (2561). หลักอาชญาวิทยากับกระบวนการยุติธรรม. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.oja.go.th/TH/wp-content/uploads.
วันชัย มีชาติ. (2556). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานนท์ ฉัตรเงิน และเกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์. (2559). รายงานการวิจัยลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมของผู้กระทำผิดซ้ำหญิงในคดีจำหน่ายยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.