ศึกษาวิเคราะห์เหตุที่เป็นอันตรายในการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรม

Main Article Content

พระอดุลย์ รตนปญฺโญ
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์เหตุที่เป็นอันตรายในการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรม” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสาเหตุที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นอันตรายในการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรม  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎกอรรถกถาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาวิเคราะห์สรุปรายงานเชิงพรรณาตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า การอุปสมบทคือการสละการครองเรือนเป็นบรรพชิตเพื่อปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด    เพื่อพ้นจากทุกข์ การอุปสมบทมี 8 อย่าง มีเอหิอุปสัมปทา ติสรณคมนูปสัมปทา ญัตติจตุตถกรรม เป็นต้น เมื่ออุปสมบทแล้วต้องปฏิบัติตนเป็นบรรพชิตศึกษาพระธรรมวินัยเพื่อยินดีในสมณธรรม โดยผู้อุปสมบทจะต้องมีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย สาเหตุของการอุปสมบทเพื่อต้องการพ้นทุกข์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด การอุปสมบทมีอานิสงส์มากโดยเฉพาะผลด้านการปฏิบัติธรรมเฉพาะตนและยังมีอานิสงส์ระดับสังคมคือการสืบต่อพุทธประเพณีตามหลักพระพุทธศาสนาให้ดำรงยาวนาน สาเหตุที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรม คือ อันตรายิกธรรม ทั้ง 13 ข้อเป็นสิ่งขัดขวางให้การอุปสมบทนั้นไม่สมบูรณ์ วิเคราะห์สาเหตุที่เป็นอันตรายในการอุปสมบทตามหลักอันตรายิกธรรม 13 ข้อ พบว่า การเป็นโรคติดต่อ เป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อยู่ร่วมเกิดความปริโภธกังวล ผู้จะอุปสมบทควรทำการรักษาตนให้หายจากโรคเสียก่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้ว ชิดตะขบ. (2555). ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

เจษฎา ทองขาว. (2560). พระพุทธศาสนากับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ : ท่าทีและการปฏิบัติต่อทาส. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(2), 81-110.

พระครูวุฒิสาครธรรม. (2560). ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาท: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดพัทลุง. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 31-48.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) . (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.