การประเมินการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช: กรณีศึกษาวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สนามหน้าเมือง และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) (The Evaluation on Touristic Area in Nakhon Nakhon Si Thammarat Municipality: A Case Study of Phra

Authors

  • Yutthana Jomkarn Master of Urban and Environmental Planning, Faculty of Architecture, Silpakorn University
  • Supagtra Suthasupa Department of Urban Design and Planning, Faculty of Architecture, Silpakorn University

Keywords:

การประเมินการใช้งาน, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, สิ่งอำนวยความสะดวก, พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว, Evaluation of Physical Environment, Infrastructure, Touristic Area

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว (2) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสามแห่ง ได้แก่ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สนามหน้าเมือง และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) เป็นพื้นที่วิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มี 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ จำนวน 99 คน กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 69 คน และ (3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 4 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจและสังเกตการณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการใช้พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวใน 3 พื้นที่มีลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะของประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานและประวัติศาสตร์ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เน้นด้านการออกกำลังกาย ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทสวนสาธารณะ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จึงมีทั้งกิจกรรมที่เน้นด้านการออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกาย ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวพบว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x_   = 3.64) ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x_   = 3.26 และ 2.92 ตามลำดับ) เสนอแนะให้พื้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารควรมีการจัดระเบียบร้านค้า หาบเร่ แผงลอยเพื่อความเป็นระเบียบในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ส่วนสนามหน้าเมืองและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) ควรมีการปรับปรุงด้านมาตรการการรักษาความสะอาดของพื้นที่ ซึ่งทั้งสามพื้นที่ควรมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวให้มีความสวยงามด้วย

 

The objectives of this research were (1) to study the forms of use of tourist areas (2) to evaluate the tourist areas in terms of physical environment and facilities and (3) to propose guidelines for developing or improving the tourist areas. Three tourist areas were chosen for this research: Phramahathat Woramahawihan Temple, Na Mueng Park and Thalad Park. Three groups of the sample in the chosen areas were used: (1) 99 local people (2) 69 tourists and (3) 4 tourism experts and developers. Research tools included survey, observation and questionnaire. The findings were as follows. The forms of use of the 3 areas were different according to the types of tourist attractions. Phramahathat Woramahawihan Temple is an archeological and historical tourist attraction. Most of the activities here involved passive recreations. In Na Mueng Park and Thalad Park are parks, most of the activities here were both active recreations and passive recreations. The evaluation of the tourist areas in terms of physical environment and facility provision were as follows. At Phramahathat Woramahawihan Temple, the respondents showed a high level of overall satisfaction (x_   = 3.64). At Na Mueng Park and Thalad Park, the respondents showed average levels of overall satisfaction (x_   = 3.26 and 2.92, respectively). From the research findings, guidelines can be proposed. At Phramahathat Woramahawihan Temple, shops, hawking and stalls should be reorganized orderly. At Na Mueng Park and Thalad Park, cleanliness measures of the areas should be improved. Moreover, there should be landscape improvement for the beauty in all areas.

Downloads

Published

31-12-2015