การอ่านและแปลความหมายภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนเกษตรกรรมล้านนาในแอ่งที่ราบเมืองคอง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อัมพิกา อำลอย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศุภกุล เรืองวิทยานุสรณ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรงค์ วงศ์ลังกา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • แผ่นดิน อุนจะนำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การอ่านและแปลความหมาย, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ชุมชนเกษตรกรรมล้านนา, แอ่งที่ราบเมืองคอง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุคุณค่าและความสำคัญของภูมิทัศน์วัฒนธรรมผ่านการอ่านและแปลความหมายในพื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่รอบนอกของพื้นที่สงวนชีวมณฑลดอยหลวงเชียงดาว และถือเป็นหนึ่งในแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชนเกษตรกรรมที่สอดคล้องกับแนวคิดสังคมเกษตรกรรมล้านนา ปัญหาการวิจัย คือ การนำแนวทางการอ่านและแปลความหมายภูมิทัศน์วัฒนธรรมมาใช้กับพื้นที่ศึกษาจะได้ผลลัพธ์อย่างไร สามารถระบุคุณค่าและความสำคัญอย่างไรบ้าง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งเน้นการสำรวจภาคสนามที่ใช้แบบสำรวจภูมิทัศน์วัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชุมชนเกษตรกรรม จำนวน 4 ชุมชน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน จากผลการศึกษา พบว่า ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่ศึกษาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากชาวบ้านเข้าไปจัดการสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในบริเวณพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา เพื่อตอบสนองต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ การปลูกสร้างบ้านเรือน การทำเกษตรกรรม การใช้พื้นที่ทางสังคม การจัดการน้ำ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าไม้ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านการใช้พื้นที่และรูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมที่มีวัฒนธรรมเป็นผู้กระทำและมีธรรมชาติเป็นสื่อกลาง สามารถเป็นตัวแทนที่ชัดเจนของภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเกษตรกรรมล้านนา โดยแสดงถึงคุณค่าและความสำคัญ ได้แก่ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ คุณค่าทางวัฒนธรรม คุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ คุณค่าทางการศึกษา คุณค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว คุณค่าทางสุนทรียภาพ รวมทั้งคุณค่าทางสังคมและชุมชนที่มีความผูกพันอยู่กับการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาซึ่งถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตหลักของกลุ่มคนที่ตั้งถิ่นฐานในแอ่งที่ราบแห่งนี้

References

Amloy, A., et al. (2022). Karn sueksa phum that phuen thin lanna nai boribot chumchon khong nakwichakarn Thai nai prathet Thai chuang phoso 2545 - 2564. (In Thai) [The study of Lanna vernacular landscape in the community context of Thai scholars in Thailand during 2002-2021]. Landscape Architecture Journal, 4(1), 62-81.

Berkes, F. (2007). Community-based conservation in a globalized world. Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) (pp.15188-15193). Washington D.C: PNAS.

Boonkham, D. (2020). Wa duai phumi sathapattayakam botkhwam khat san nai rop sam thotsawat. (In Thai) [On landscape architecture: selected essays in 3 decades]. Bangkok: The Association of Siamese Architects under Royal Patronage.

Folke, C. et al. (2010). Resilience thinking: integrating resilience, adaptability and transformability. Ecology and Society, 15(4), 1-9.

Jackson, J.B. (1984). Discovering the vernacular landscape. New Haven: Yale University Press.

Karnthak, A. & Weerataweemat, S. (2015). Phumi that watthanatham khwammai phatthanakarn thang naeokhit lae thit thangkarn sueksawichai. (In Thai) [Cultural landscape: meaning, conceptual development and research direction academic]. Journal: Faculty of Architecture, Khon Kaen University, 14(2), 1-12.

Kerdsiri, K. (2014). Ong ruam phum that watthanatham chumchon lae sathapattayakam phuenthin ruean thiyuasai nai lumnam thalesap Songkhla. (In Thai) [Holistic cultural landscapes of community and vernacular architecture in the area of Songkhla lake watershed]. NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture, 11, 176-213

Klianglam, M. (2021). Karn borihan karn phatthana chumchon kasettakam samaimai bon than sangkhom Lanna Thai. (In Thai) [Management of modern agricultural community development based on Lanna Thai society]. Journal of MCU Haripunchai Review, 5(2), 59-70.

Lennon, J. & Mathews, S. (1996). Cultural landscape management. Canberra: Australian Alps Liaison Committee.

Meinig, D.W. (1979). The beholding eye: ten versions of the same scene. In Meining, D.W. & Jackson, J.B. (Ed.). The interpretation of ordinary landscapes: geographical essays (pp.33-48). New York: Oxford University Press.

Meinig, D.W. & Jackson, J.B. (1979). The interpretation of ordinary landscapes: geographical essays. New York: Oxford University Press.

Ongsakun, S. (2010). Prawattisat Lanna. (In Thai) [History of Lanna]. Bangkok: Amarin.

Peirce, F.L. (1979). Axioms of the landscape: some guides to the American scene. New York: Oxford University Press.

Spirn, A.W. (1998). The language of landscape. New Haven: Yale University Press.

Taylor, K. (2016). Research in landscape architecture. n.d.: Routledge.

Thongmee, O., Rodhetbhai, C. & Siltragool, W. (2015). Lanna food: the cultural management strategy for the creative economy development. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 15(3), 105-119.

Tuan, Y.F. (1977). Space and place: the perspective of experience. Chicago: University of Minnesota Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2024