การบูรณาการกิจกรรมทางวัฒนธรรมบนภูมิทัศน์เมืองเชิงประวัติศาสตร์ชุมชน กรณีศึกษาชุมชนช้างม่อยวัดชมพู เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จิรันธนิน กิติกา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปรานอม ตันสุขานันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัมพิกา ชุมมัธยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อจิรภาส์ ประดิษฐ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์เมือง, เครือข่ายชุมชน, กิจกรรมทางวัฒนธรรม, พื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชน, เมืองแห่งการเรียนรู้

บทคัดย่อ

เชียงใหม่ในฐานะการเป็นเมืองวัฒนธรรม ที่ถูกพัฒนาเพื่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ปัจจุบันได้เป็นสมาชิกในเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกตั้งแต่ พ.ศ. 2564 เป็นแนวคิดการขับเคลื่อนเมืองผ่านการทำงานระหว่างผู้คนในเมือง เพื่อรวบรวมข้อมูลเมืองที่เป็นต้นทุนเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ ทั้งความรู้จากชุมชนเมืองที่เป็นรากฐานของการขับเคลื่อนสภาพสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างผู้คนในเมืองเป็นการขับเคลื่อนให้เกิดความรู้ที่ส่งต่อไป ชุมชนช้างม่อยเป็นพื้นที่วิจัยด้วยความสำคัญของการเป็นชุมชนเก่าที่ตั้งระหว่างเมืองเก่าและย่านเศรษฐกิจริมแม่น้ำปิง ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เกิดเป็นวัตถุประสงค์ของการวิจัย ข้อแรก คือ ข้อมูลเมืองด้านภูมิทัศน์เมืองเชิงประวัติศาสตร์ ที่มาจากการกำหนดและผลสรุปจากข้อมูลของผู้คนและการสำรวจพื้นที่ทางสังคมในชุมชน และข้อที่สอง คือ การสร้างกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เป็นการจำลองกลไกการขับเคลื่อนชุมชนร่วมกัน วิธีวิจัยเป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับชุมชน จำนวน 4 ครั้ง ผลงานวิจัยนี้ได้สร้างกิจกรรมเป็นเครื่องมือสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่เพื่อชุมชนที่ขับเคลื่อนโดยเครือข่ายชุมชน เรียกว่ากิจกรรมคนข้าวยาคู้ ซึ่งเป็นการฟื้นฟูแนวคิดชุมชนหัววัดที่มีการบูรณาการพื้นที่เชิงประวัติศาสตร์ชุมชนบนถนนช้างม่อยเก่า และสร้างความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนเพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองยั่งยืน

References

Kitika, C. (2020). Karn wang phang naewkid rueang phumithat wattanatham duai krabuankarn mee suanruam khong khrueakhai chumchon koranee sueksa phuentee chumchon Chang Moi, changwat Chiang Mai. (In Thai) [Integrated cultural landscape conceptual plan with community network participation on a case study of Chang Moi area, Chiang Mai province]. NAJUA: History of Architecture and Thai Architecture, 17(1), 152-184.

Ongsakul, S. (2019). Chumchon rop wat nai Chiang Mai: prawattisat chumchon. (In Thai) [Buddhist monastic community in Chiang Mai: a community history]. Chiang Mai: Faculty of Humannity Chiang Mai University.

Sanders, E.B.N. & Stappers, P.J. (2008). Co-creation and the new landscapes of design. CoDesign, 4(1), 5-18.

Shen, J. & Chou, R.J. (2021). Cultural landscape development integrated with rural revitalization: a case study of Songkou ancient town. Land journal, 10(4), 406-426.

Shummadtayar, U. & Ongsavangchai, N. (2018). Karn khayaitua khong mueang kub karn plianplaeng yarn mueang kao Chiang Mai. (In Thai) [Urbanization and urban context variants of old districts in Chiang Mai]. Journal of Environmental Design, 5(1), 62-80.

Tajai, S. & Ounchanum, P. (2020). Laksana tang kaiyaphap khong kat phuenthin nai changwat Chiang Mai. (In Thai) [The physical characteristics of the local markets in Chiang Mai province]. Journal of Environmental Design, 7(2), 166-196.

Tovivich, S. (2021). Krabuankarn sansang phuentee yang mee suanruam lae karn aur hai kerd phuentee thang sangkhom: koranee sueksa chumchon yarn Khlong Bang Luang. (In Thai) [In survey on social space: identity, practice and representation: Khlong Bang Luang]. In Suwatcharapinun, S. (Ed.). Samruat phuentee thang sangkhom: attalak, patibatkarn, lae phap tuathaen. (In Thai) [Explore the social space: identity, action, and representation] (pp.3-70). Bangkok: Siam Paritad Publishing.

Wisetsakdee, W. (2020). Khwam samphan kong wattanatham yoi kub sathapattayakam phuen thin mueang: konranee sueksa atta lak teeyu asai klum wattanatham yoi khon khui khaya lae rapsue khongkao. (In Thai) [Relationship of subculture and urban vernacular architecture: case study of the dwelling identity of waste pickers and reusable waste carrier subculture]. Journal of Environmental Design, 6(2), 36-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2023