ประวัติศาสตร์วาทกรรมอัตลักษณ์ทางเพศของ ‘หญิงรักหญิง’ ในสื่อไทย ระหว่างปี 2539-2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เงื่อนไขและการก่อร่างวาทกรรมอัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงในสื่อไทย โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ตามแนวทางประวัติศาสตร์แบบวงศาวิทยา ของมิเชล ฟูโกต์ ด้วยการวิเคราะห์ตัวบทสื่อไทยที่เผยแพร่ระหว่างปี 2539-2563 ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย ละครโทรทัศน์และซีรีส์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์สื่ออาชีพและสื่อทางเลือก รวมถึงรายการปกิณกะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวาทกรรมอัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงในสังคมไทยก่อรูปขึ้นจากอำนาจและความรู้ภายใต้ระบบของการแบ่งแยกเพศแบบเพศทวิลักษณ์ บรรทัดฐานรักต่างเพศ ปิตาธิปไตยและความเกลียดชังคนรักเพศเดียวกันที่ได้รับแรงหนุนเสริมจากศีลธรรมทางเพศของสังคมร่วมกับความรู้เชิงศาสตร์สมัยใหม่อย่างจิตวิเคราะห์และพฤติกรรมศาสตร์ ทำให้อัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงก่อร่างขึ้นเป็นวัตถุของวาทกรรมที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับความผิดปกติทางอารมณ์ ความเบี่ยงเบนทางเพศ และความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม ในทางกลับกัน สถานการณ์ทางวาทกรรมนี้ก็ทำให้อัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงได้ก่อร่างอัตภาวะขึ้นมาโดยการหนุนเสริมของแนวคิดสิทธิ เสรีนิยม และปัจเจกนิยม จนเกิดเป็นเครือข่ายทางสังคมในพื้นที่การสื่อสารทางเลือก เช่น อัญจารี ท่ามกลางบริบทการเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงเชิงพาณิชย์ในช่วง 2550 ที่ตัวตนกลายเป็นพื้นที่ของการบริโภคและการกลายเป็นสินค้า อัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงอาจตรึงตนเองในพื้นที่วาทกรรมโดยผนวกรวมตัวเองเข้ากับกรอบความรู้ทางศีลธรรมและวัฒนธรรมของสังคม เช่น การเป็นคนดี สวยหล่อ ประสบความสำเร็จในชีวิต มีทักษะความสามารถ ไปจนถึงผนวกตนเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนิยามความรักโรแมนติกตามบรรทัดฐานรักต่างเพศ อย่างไรก็ดี การผนวกเข้ากับกรอบความรู้ทางศีลธรรมและวัฒนธรรมของสังคมก็สร้างสถานการณ์ที่ลวงให้เชื่อว่าตัวตนนั้นมีเสรีภาพแล้ว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์นี้ยังเผชิญกับแรงตึงเครียด เช่น การถูกเลือกปฏิบัติในทางกฎหมาย การถูกคาดหวังสวมบทบาทเป็นหญิงและชายตามกรอบเพศทวิลักษณ์ ความตึงเครียดนี้ทำให้เกิดพลวัตของวาทกรรมอีกระลอกซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีเควียร์ที่นำเสนอภววิทยาแห่งความหลากหลายทางเพศ ทำให้ระบบเพศทวิลักษณ์ถูกตั้งคำถาม และเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อให้อัตลักษณ์ทางเพศของหญิงรักหญิงเป็นพื้นที่ซึ่งเปิดกว้าง ผนวกรวมความหลากหลายทางเพศมากขึ้นโดยไม่ยึดติดกับความเป็นหญิงตามเพศกำเนิดอีกต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กศินี ดำริสถลมารค. (2555). ภาพลักษณ์ของหญิงรักร่วมเพศที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เอเชียตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
กันตพงศ์ เชี่ยวพิมลพร. (2564, 5 กุมภาพันธ์). GMM เซนเซอร์ผู้หญิงจูบกันออก เพราะเหตุผล ‘ผิดต่อศีลธรรมอันดี’ สู่การตั้งคำถามต่อ
ซีรีส์เรื่องว่าหญิงจูบหญิงไม่ดียังไง? พอเป็นฉาก ชายจูบชาย ตบ-จูบ ข่มขืน กลับฉายได้ปกติ. ประชาไท. แหล่งที่มา https://spectrumth.com/13499/.
กรมศิลปากร. (2507). กลอนเพลงยาว เรื่อง หม่อมเป็ดสวรรค์ และพระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.
กฤษณา อโศกสิน. (2517). รากแก้ว. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
คงเดช จาตุรันต์รัศมี, & เกียรติ ศงสนันทน์. (2546). สยิว. [ภาพยนตร์]. ไทย: สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล.
เครือข่ายความหลากหลายทางเพศแห่งประเทศไทย. (2557, 29 มิถุนายน). จดหมายเปิดผนึก เรียน ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง TCIJ เรื่อง การนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
จารึก สงวนพงษ์. (2540). ขังแปด [ละครโทรทัศน์]. ไทย: อัครมีเดีย.
จุฑามาศ ไชยมงคล. (2555). การวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางเพศสภาพและพื้นที่ของหญิงรักหญิงในสื่อนวนิยาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี : ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล. (2550). รักแห่งสยาม [ภาพยนตร์]. ไทย: สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล.
ฐิติพงศ์ ใช้สติ, สรเทพ เวศวงศ์ษาทิพย์, & สำคัญ โชติกสวัสดิ์. (2555). THREE DAY TWO NIGHT สามวัน สองคืน รัก-เลิก-เลย [ภาพยนตร์]. ไทย: พระนครฟิล์ม.
ทรงยศ สุขมากอนันต์. (2558). ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ฤดูกาลที่ 3 [ละครซีรีส์]. ไทย: จีทีเอชและนาดาวบางกอก.
ทรงยศ สุขมากอนันต์. (2557). ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ฤดูกาลที่ 2 [ละครซีรีส์]. ไทย: จีทีเอชและนาดาวบางกอกใ
ทีมข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2548, 12 พฤศจิกายน). นิด้าเผยผลวิจัย นักเรียนที่รักเพศเดียวกัน มีความคิดอยากฆ่าตัวตายมากกว่ากลุ่มรักต่างเพศ ถึง 7 เท่า. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวข่าวสด. (2540, 24 มกราคม). นักจิตวิทยาหนุนต้านครูตุ๊ด ชี้ภัย นร.เลียนแบบ ระบุมีผลกระทบ! ตั้งแต่ นร.อนุบาล. ข่าวสด. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวข่าวสด. (2555, 13 ธันวาคม). แห่วิวาห์ฤกษ์สวยบูชาราหู12 12 12. ข่าวสด. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวคมชัดลึก. (2551, 5 เมษายน). หมอรามาประณามหมอตลาดมืดตัด เต้า ไข่ผิดจริยธรรม. คมชัดลึก. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวคมชัดลึก. (2552, 3 กันยายน). ของจริงไม่สน! ดาราชอบของเทียม. คมชัดลึก. วันที่เข้าถึงข้อมูล แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวคมชัดลึก. (2561, 14 พฤศจิกายน). ดัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต ดึงคะแนนจากกลุ่ม LGBT. คมชัดลึก, แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2540, 11 กันยายน). เผยวิธีทดสอบ นศ.ครู ผิดปกติทางเพศ. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2542, 3 มิถุนายน). สาวทอมพ่ายรักโดดตึกแถวฆ่าตัวตาย. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2547, 7 มิถุนายน). หมายเหตุประชาชน :ถึงคิว...ชาวสีม่วงถูกจัดระเบียบ (1) สื่อมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบ. เดลินิวส์.แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2549, 18 กุมภาพันธ์). คอลัมน์เฮฮาหน้าทะเล้น : เซ็กซ์เหินเวหา. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2549, 6 สิงหาคม). คอลัมน์สกู๊ปหน้า 1 'นางงาม' เป็น 'ทอม' 'ค้นพบตัวเอง' หญิงชายก็ไม่แตกต่าง. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2551, 5 เมษายน). ตัดอัณฑะเสี่ยงมะเร็ง เตือนทอมเฉือนเต้า! อาจมีผลกระทบจิตใจ. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวเดลินิวส์. (2564, 3 กุมภาพันธ์). ดราม่าซีรีส์ดัง! ถูกตัดฉาก'หญิงจูบกัน'อ้างผิดศีลธรรม. เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/entertainment/823166
ทีมข่าวไทยพีบีเอส.(2560, 4 พฤษภาคม). กระแสซีรีส์วายไทยบุกตลาดเอเชีย. ไทยพีบีเอส. แหล่งที่มา https://news.thaipbs.or.th/content/262184
ทีมข่าวไทยพีบีเอส. (2563, 8 กรกฎาคม). โซเชียลเดือด หลัง ครม.ไฟเขียวร่าง "พ.ร.บ.คู่ชีวิต". ไทยพีบีเอส. แหล่งที่มา https://news.thaipbs.or.th/content/294382
ทีมข่าวไทยโพสต์. (2548, 3 มิถุนายน). แฉรสนิยมหญิง 2005 หันนิยมเกย์กะเทย. ไทยโพสต์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวไทยรัฐ. (2544, 7 เมษายน). 'ดร.ปุ' กู่ไม่กลับเอาใจเกย์ แต่งกันถูก กม. ไอเดียสุดจั๊กจี้ เลสเบี้ยนด้วย จดทะเบียนได้ สส.สว.รุมค้าน,ไทยรัฐ. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2547, 5 มิถุนายน). ร่วมเพศกรี๊ดต่อต้านกีดกัน. ไทยรัฐออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2547, 15 มิถุนายน). บทบรรณาธิการ: รัฐกับวัฒนธรรม. ไทยรัฐออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2554, 2 กุมภาพันธ์). ทอมแห่ต่อจู๋เทียม. ไทยรัฐออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวบางกอกทูเดย์. (2547, 30 ตุลาคม). น.ร.ชายตกป๋อง กระแสคลั่งทอมมาแรง. บางกอกทูเดย์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวบางกอกทูเดย์. (2549, 3 สิงหาคม). ทอมอินเทรนด์แห่เฉือนนมทิ้ง. บางกอกทูเดย์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวบ้านเมือง. (2555, 9 กันยายน). ชีวิตคู่หญิงรักหญิง : อุปสรรคที่ก้าวผ่านได้. บ้านเมือง. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/.
ทีมข่าวผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา. (2553, 18 กันยายน). 'รักนวลสงวนจุ๋ม'สาวบันเทิงคบ 'ทอม' โลด! ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 องศา. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวมติชน. (2544, 9 เมษายน). กุนซือข้างกาย "ทักษิณ" ผู้ชาย "นะยะ!" "ผู้นำเกย์" แฉมีหลายคน โต้ถูกหาอารมณ์ผิดปกติ. มติชน.แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวสยามธุรกิจ. (2549, 4 สิงหาคม). สังคมไทยวิปริตหนัก คนกลายพันธุ์ระบาด แหล่งฮิตทำแมน 'ยันฮี สมิติเวช BNH'. สยามธุรกิจ.แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
ทีมข่าวสยามรัฐ. (2554, 5 กรกฎาคม). คอลัมน์หนึ่ง ธนาธร : ใหม่ กะ หม่ำ โดนกะโดนความสัมพันธ์ในสังคมหลากหลายเพศ. สยามรัฐ.แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). เพศในเขาวงกต: แนวคิดทฤษฎีเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสินธร.
นัยนา สุภาพึ่ง. (2563). สิทธิมนุษยชน ในเรื่องอัตลักษณ์และวิถีทางเพศ กับความคุ้มครองและรับรองภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายไทย. จุลนิติ, (กันยายน-ตุลาคม), 1-26.
ปุณยิกา ขจิตระบิน. (2562). การสื่อความหมายค่านิยมทางสังคมของหญิงรักหญิง และกลวิธีการนำเสนอในละครโทรทัศน์ คลับ ฟรายเดย์ เดอะ ซีรีย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.
ผกา สัตยธรรม. (2516). การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ของบุคคลที่รักร่วมเพศกับบุคคลปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พิมพกา โตวิระ. (2546). คืนไร้เงา [ภาพยนตร์]. ไทย: จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์
เพื่อน ๆ ของเรา. (2544). คุยกันฉันท์เพื่อน. จดหมายข่าวอัญจารี, 2(12), 16-17.
มารยาท ไทยนิวัฒน์วิไล. (2551). ฮะเก๋า [ภาพยนตร์]. ไทย: สหมงคลฟิล์ม.
มธุรส ชมดวง. (2546). การศึกษาวิถีชีวิตของหญิงที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
มัทนา เชตมี. (2539). วิถีชีวิตและชีวิตครอบครัวของหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มีนาม. (2558). พิษรัก. กรุงเทพฯ: T&M.
มุทิตา เชื้อชั่ง. (2555, 6 ธันวาคม). เปิดปม ‘ซีเอ็ด’ แบนเรื่องเพศ: มุมมอง LGBT และอื่นๆ-คำขอโทษจากผู้บริหาร. ประชาไท. แหล่งที่มา https://prachatai.com/journal/2012/2012/44075
เมษชัย ใจสำราญ. (2559). แนวคิดปิตาธิปไตยในพระวินัยปิฎก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
ยงยุทธ ทองกองทุน. (2543). สตรีเหล็ก [ภาพยนตร์]. ไทย: โมโน ฟิล์ม.
รัชนีชล ไชยลังการ์. (2553). การสร้างอัตลักษณ์ทางเพศในแบบหญิงรักหญิง: ฉากชีวิตที่แตกต่างหลากหลายของกลุ่มแรงงานหญิงในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
รังรอง งามศิริ. (2532). พฤติกรรมทางเพศและเจตคติของนักเรียนวัยรุ่น : กรณีศึกษาพฤติกรรมรักร่วมเพศ เขตการศึกษา 7. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลลนา. (2547). Yes...รักนี้ใช่เลย. กรุงเทพฯ: สีม่วงอ่อน.
วรภัทรา บูรณะกิจเจริญ. (2543). พัฒนาการพฤติกรรมหญิงรักร่วมเพศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิภาวดี. (2547, 24 กุมภาพันธ์). คอลัมน์บันเทิงฟรีสไตล์ : "ถึงลูกถึงมุม". เดลินิวส์. แหล่งที่มา https://www.iqnewscenter.com/
สรัสวดี วงศ์สมเพ็ชร. (2553). Yes or No อยากรักก็รักเลย [ภาพยนตร์]. ไทย: พระนครฟิลม์.
สุภาณี ยาตรา. (2548). การแสดงอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของกลุ่มหญิงรักหญิงผ่านสื่อเว็บไซต์ในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
สุมาลี โตกทอง. (2549). การให้ความหมายและการต่อรองในชีวิตคู่ของหญิงรักหญิง. (วิทยาพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุไลพร ชลวิไล. (2545). ตัวตนในเรื่องเล่า : การต่อรองทางอัตลักษณ์ของหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุวัฒนา ศรีพื้นผล. (2534). พฤติกรรมทางเพศและเจตคติของนักเรียนวัยรุ่น : กรณีศึกษาพฤติกรรมรักร่วมเพศ เขตการศึกษา 8 (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อาทิตยา อาษา. (2562). ครอบครัวเควียร์: พหุอัตลักษณ์ ความสัมพันธ์ และยุทธศาสตร์ ครอบครัวเลสเบี้ยนชนชั้นแรงงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ (identity). กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
อรุณศักดิ์ อ่องลออ. (2557). 1448 Love Among Us รักเรา...ของใคร [ภาพยนตร์]. ไทย: สตาร์ลิงส์.
อัญชัน. (2547). นางเอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
อุษณา เพลิงธรรม. (2508). เรื่องของ จัน ดารา. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
Bhasin, K. (2006). What Is Patriarchy. New Delhi: Women Unlimited.
Bleys, R. (1996). The Geography of Perversion. NY: NYU Press.
Butler, J. (1990). Gender Trouble. London: Routledge.
Duggan, L. (2002). The New Homonormativity: The Sexual Politics of Neoliberalism, In R. Castronovo & D. Nelson, Materializing Democracy: Toward a Revitalized Cultural Politics (pp. 175-194). Durham: Duke University Press.
Enteen, J. (2007). Lesbian Studies in Thailand. Lesbian Studies in Thailand, 11(3-4), 255-263.
Foucault, M. (1978). The History of Sexuality Volume 1: An Introduction. NY: Pantheon.
Foucault, M. (1984). Nietzsche, Genealogy, History. In P. Rabinow, The Foucault Reader (pp. 78-90). London: the Penguin Group.
Griffin, P., D'Errico, K. H., Harro, B., & Schiff, T. (2007). Heterosexism Curriculum Design, In M. Adams, L. A. Bell, & P. Griffin. Teaching for Diversity and Social Justice (pp. 195-218). London: Routledge.
Grossberg, L., Wartella, E., Whitney, D. C., & Wise, J. M. (2006). Media Making: Mass Media in a Popular Culture. London: Sage Publications.
Keats, T. (2016). Lesbophobia as a Barrier to Women in Coaching. Taboo: The Journal of Culture and Education, 15(1), 79-92.
Levi-Strauss, C. (1955). The Structural Study of Myth. The Journal of American Folklore, 68(270), 428-444.
Sinnott, M. (1999). Masculinity and Tom Identity in Thailand. Journal of Gay and Lesbian Social Services, 9(2-3), 97-119.
Sinnott, M. (2004). Toms and Des: Transgender Identity and Female Same-Sex Relationships in Thailand. Hawaii: University of Hawaii Press.
Sinnott, M. (2011). The Language of Rights, Deviance, and Pleasure: Organizational Responses to Discourses of Same-Sex Sexuality and Transgenderism in Thailand, In P. A. Jackson, Queer Bangkok: 21th Century Markets, Media, and Right (pp. 205-228). Chiang Mai: Silkworm Books.
Sedgewick, E. K. (1990). Epistemology of the Closet. Berkeley. CA: University of California Press.
Suvannathat, Chancha & Plitplotphai, Praphan. (1988). History and Achievements of the Institute of Research in Behavioral Sciences (Original the International Institute for Child Study). Bangkok: Institute of Research in Behavioral Sciences, Srinakharinwirot University Prasarnmit Campus.
Walby, S. (1990). Theorizing Patriarchy. Oxford: Blackwell Publishers Ltd.
Warner, M. (1993). Fear of a Queer Planet: Queer Politics and Social Theory. Minneapolis: University of Minnesota.
Warner, M. (1998). The Trouble with Normal. New York: Free Press.
Weinberg, G. (1973). Society and the Healthy Homosexual. NY: Anchor Press/Doubleday.