การเล่าเรื่องความตายบนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภาคอีสานในประเทศไทย

Main Article Content

ณชรต อิ่มณะรัญ
กฤษณ์ ทองเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตัวบท วิธีการสื่อความหมายและวิธีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับความตายที่สื่อสารบนภาพจิตรกรรมฝาผนังอีสานในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภาคอีสานจำนวน 16 แห่ง ผลการวิจัยดังนี้ 1) เนื้อหาเกี่ยวกับความตายจำแนกได้ 4 กลุ่มคือ สาเหตุการตาย การจัดการพิธีศพ ความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย และเนื้อหาบริบทที่เกี่ยวกับความตาย 2) วิธีการสื่อความหมาย ได้แก่ การสร้างความเชื่อมโยงกับวรรณกรรมเนื่องในพุทธศาสนา การใช้รหัสภาพจิตรกรรม การจัดองค์ประกอบเชิงพื้นที่ การใช้สัญลักษณ์ในเชิงพิธีกรรม การสร้างความเป็นคู่ตรงข้ามและการใช้รหัสสัญรูปภาษาท่าทางเพื่อสื่อเนื้อหาเชิงอารมณ์ 3) วิธีการเล่าเรื่อง พบว่าองค์ประกอบของเรื่องเล่า 7 ประการดังนี้ 1) ตัวเรื่องได้แก่ เรื่องชีวิตและความตายตามแนววิถีโลก เรื่องวัฏฏะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องการจัดการพิธีศพ เรื่องการรับผลกรรมจากบาปบุญของผู้ตาย 2) โครงเรื่อง การเริ่มเรื่องด้วยการเห็นนรกเป็นปฐม การพัฒนาเหตุการณ์ว่าทุกชีวิตเดินทางสู่ความตาย ขั้นภาวะวิกฤตเมื่อถึงวันพิพากษา ขั้นภาวะคลี่คลายว่าด้วยสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม การปิดเรื่องด้วยห้วงคำนึงถึงมรณานุสติ 3) แก่นเรื่อง พบแก่นเรื่องที่โดดเด่นคือ แก่นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม 4) ตัวละครได้แก่ มนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็นมนุษย์สามัญชนกับมนุษย์ผู้มีพลังวิเศษ อมนุษย์ จำแนกได้เป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มเทพเทวดา กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในยมโลก และกลุ่มสัตว์นรก ลักษณะบุคลิกตัวละครทั้งหมดเป็นตัวละครที่ไม่ซับซ้อน 5) ความขัดแย้งพบว่ามีความขัดแย้งระหว่างสภาวะความเป็นมนุษย์กับมัจจุมาร ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับกฎธรรมชาติ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม 6) มุมมองการเล่าเรื่อง เป็นการเล่าในมุมมองแบบผู้รอบรู้ 7) ฉาก พบว่า มีฉาก 3 ประเภทคือ ฉากธรรมชาติ ฉากที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร และฉากที่เป็นสภาพแวดล้อมเชิงนามธรรม ในส่วนของวิธีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับความตาย พบว่ามีวิธีการเล่าเรื่องคือ 1) การเล่าเรื่องผ่านสัมพันธบทกับวรรณกรรมเนื่องในพุทธศาสนา 2) การเล่าเรื่องความตายในเชิงบูรณาการทั้งรูปแบบตามลำดับและไม่ลำดับเวลา 3) การเล่าเรื่องความตายแบบไม่ต่อเนื่อง ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้การเล่าเรื่องเน้นการเล่าเพื่อสนองตอบอารมณ์ที่น่ากลัวหรืออารมณ์สงบเพื่อการเข้าถึงสัจธรรมมรณานุสติ

Article Details

บท
Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.

กลุ่มงานอนุรักษ์ศิลปกรรม สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2539). วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านในจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2562). Tomorrow Never Dies: การเข้าใจความตายในสื่อภาพยนตร์ไทย. วารสารศาสตร์, 12(1), 80-123.

จอห์น, เบอร์เกอร์. (2565). “มอง” ไม่ได้แปลว่า “เห็น” (รติพร ชัยปิติพร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เจือง ถิ หั่ง. (2559). ความตาย The Death. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี, 8(2), 161-198.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2532). การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ.

ดัฟที, เคตลิน. (2564). จากดับสูญสู่นิรันดร์: ส่องวิถีหลังความตายจากหลากหลายวัฒนธรรม (กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.

นพพร ประชากุล. (2551). มายาคติ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ประสิทธิ์ กุลบุญญา. (2563). วิธีการเผชิญความตายและรูปแบบการเตรียมตัวตายสำหรับผู้สูงวัยตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 196-212.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ส. ชิโนรส. (2558). ยิ้มกับความตาย. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.

สนธิวรรณ อินทรลิบ. (2536). อภิธานศัพท์จิตรกรรมไทยเนื่องในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

สรัสวดี คงปั้น และ มนต์ ขอเจริญ. (2561). มายาคติความตายที่สื่อสารผ่านพิธีกรรมงานศพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาพุทธ: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ภูไทและกลุ่มชาติพันธุ์ลื้อ. นิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(1), 79-119.

สุมาลี เอกชนนิยม. (2548). ฮูบแต้มในสิมอีสาน งานศิลป์สองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สุวิชา สว่าง และ กฤษณ์ ทองเลิศ. (2565). การสื่อสารมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ผ่านงานจิตรกรรมในพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA). นิเทศศาสตรปริทัศน์, 26(3), 168-181.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). พจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: ธนอรุณการพิมพ์.

อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย. (2551). ซ่อนไว้ในสิม: ก-อ ในชีวิตอีสาน (Hidden Treasures). กรุงเทพฯ: ฟูลสต๊อป.

Arianto, T. (2022). The signification of death story line in Teenlit reflected in Looking for Alaska by John Green. Jurnal IdeBahasa, 4(1), 25-38.

Boggs, J. M. (2008). The art of watching films. New York: McGraw Hill.

Gerbner, G. (1989). International encyclopedia of communications. New York: Oxford University Press.

Hannapha, P., & Thonglert, G. (2011). The integration of image and text for communication in the mural paintings of Potharam temple in Nadoon district, Maha Sarakham Province. Procedia- Social and Behavioral Sciences, 30, 53-57.

Hayward, S. (2006). Cinema studies. London: Routledge.

McIlwain, C. (2023). On the signification of death in culture & communication research. The E-Journal of Culture and Communication. Retrieved November 19, 2023, from https://pages.nyu.edu

Robert, G.,&Wallis, H. (2001). Introducing film. London: Arnold.

Schirato, T., & Yell, S. (2000). Communication and culture: An introduction. Sage Publications.

Todorov, T. (1997). The Poetics of prose. New York: Cornell University.