การศึกษาการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง Over The Top (OTT)

Main Article Content

ฐิติยา พจนาพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT ใช้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับธุรกิจภาพยนตร์ แนวคิดเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงสังคม ผู้รับสารและพฤติกรรมผู้บริโภค ความหมายและขอบเขตของ Over The Top (OTT) รวมถึงแนวคิดการตลาดและการจัดการธุรกิจ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร ระเบียบข้อกฎหมาย และสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) 3 กลุ่ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยที่เผยแพร่ในช่องทาง OTT ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่กลุ่มผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยทั้งในรูปแบบบริษัทครบวงจรและรูปแบบอิสระ  กลุ่มผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ที่ดำเนินการในประเทศไทยและมีภาพยนตร์ไทยนำเสนอ และภาครัฐผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลช่องทาง OTT ระหว่างเดือนมิถุนายน 2564 - มิถุนายน 2565 ผลการศึกษาพบว่า ช่องทางต่างๆในการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่เรียกว่า windows ซึ่งในปัจจุบันเกิดการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทางOTT เป็น window สำคัญต่อจากการฉายในโรงภาพยนตร์ หรือบางเรื่องถูกฉายใน OTT เป็น first window  มีภาพยนตร์ไทยได้รับทุนผลิตจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ทำให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT บางรายกลายเป็นสตูดิโอภาพยนตร์ โดยก้าวข้ามกระบวนการจัดจำหน่ายไปที่ขั้นตอนการเผยแพร่ และยังสามารถนำภาพยนตร์ที่เป็นเจ้าของสิทธิไปจัดจำหน่ายสู่พื้นที่หรือ windows อื่นได้ในอนาคต เกิดโอกาสของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยในการมีช่องทางเผยแพร่ภาพยนตร์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในด้านกฎระเบียบและด้านการส่งเสริมต้องให้สอดคล้องอย่างเข้าใจและเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
Articles

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2555-2559). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 2. กระทรวงวัฒนธรรม. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.mculture.go.th/policy/files/329/Asian.pdf

กิติมา สุรสนธิ. (2558). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน. ใน สมสุข หินวิมาน (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง และ ชาญนริศ บุญพารอด. (2532). การบริหารงานและจัดซื้อภาพยนตร์. ใน การบริหารงานภาพยนตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ ทวีวงศ์แสงทอง และ สุมน อยู่สิน. (2558). การบริหารงานเผยแพร่และจัดจำหน่ายภาพยนตร์. ใน การบริหารงานภาพยนตร์ : หน่วยที่ 6. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตาภา จุลเสนีย์. (2553). ความเป็นไปได้ของการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ผ่านการดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐนยศ โล่พัฒนานนท์ วรลักษณ์ กล้าสุคนธ์ และศักดิ์สิทธิ์ ทวีกุล. (2563). รายงานวิจัยความสอดคล้องของโครงสร้างอุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์ไทยกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ. (2563). การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนาเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด. (2559). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษา แนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์แบบ Over the Top (Competition Regulation on OTT TV). วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/600200000005.pdf.

นที ศุกลรัตน์. (2560). สรุปเนื้อหาการบรรยาย "OTT ในระบบกฎหมายไทย". วันที่เข้าถึงข้อมูล 3 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.chorsaard.or.th/content/15767/สรุปเนื้อหาการบรรยาย-ott-ในระบบกฎหมายไทย-โดย-พันเอก-ดร-นที-ศุกลรัตน์

ปัทมวดี จารุวร. (2550). ภาพยนตร์. ใน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (บ.ก.), สื่อสารมวลชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พสธร อรัญญพงษ์ไพศาล. (2560). การกำกับกิจการ Over-the-Top (OTT) ในกิจการสื่อหลอมรวม: ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายฝรั่งเศสและไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รมิดา จรินทิพย์พิทักษ์. (2559). บริการ OTT: ความท้าทายต่อสื่อเก่าและการกำกับดูแล. วารสาร NBTC 2017. สำนักงาน กสทช.

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2565). สื่อและผลของการสื่อสารในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2564). รายงานโครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2564. เสนอต่อสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน).

สปริงนิวส์. (2564, 10 กุมภาพันธ์). ยุคแพลตฟอร์มเฟื่องฟูเม็ดเงินสื่อดิจิทัลโตกระฉูด กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 เมษายน 2565. แหล่งที่มา https://www.springnews.co.th/program/817272

สมพล เลิศมนัสวงษ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ของผู้ให้บริการในธุรกิจ Over The Top (OTT) ในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ. (2559). รายงานวิจัยฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่อเนื่องอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ (Content Industry) ประจำปี 2555-2558. สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ.

สำนักงาน กสทช. (2564). สภาพการแข่งขันและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ Over The Top: OTT. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 กันยายน 2564. แหล่งที่มา https://lib.nbtc.go.th/book-detail/4301

สำนักงาน กสทช. (2564). พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553. วันที่เข้าถึงข้อมูล 20 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา https://www.nbtc.go.th/law/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). รายงานฉบับสมบูรณ์ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจภาพยนตร์ไทย. สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2562). 120 ปี ธุรกิจภาพยนตร์ไทย:ข้อเสนอต่อรัฐและสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 24(1), 103-117.

อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล. (2565). ระบบธุรกิจการจัดจำหน่ายและฉายภาพยนตร์: ผลกระทบต่อผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้ชม และสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 40(1), 37-64.

อนงค์นาฎ รัศมีเวียงชัย. (2558). "ธุรกิจภาพยนตร์". ใน สมสุข หินวิมาน (บ.ก.), ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Infoquest. (2565). ภูมิทัศน์สื่อไทย 2564-2565. วันที่เข้าถึงข้อมูล 3 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.infoquest.co.th/thailand-media-landscape-2022/website

Kotler, Philip, Kartajaya., Hermawan. Setiawan, Iwan. (2021). Marketing 5.0. John Wiley & Sons, Inc.

Kristen M. Daly. (2008). Cinema 3.0: How Digital and Computer Technology are Changing Cinema. Columbia University. Retrieved February 22, 2022 from https://www.researchgate.net/publication/239858896_Cinema_30_The_Interactive-Image

Porter, M. E. (1990). Towards a Dynamic Theory of Strategy Strategic. Management Journal, 12(1): 95-117.

Wasko, J. (2003). How Hollywood Works. Retrieved May 13, 2022. from https://www.researchgate.net/publication/288272837_How_Hollywood_Works