รถแห่และการเต้นบั้นเด้า: วัยรุ่นอีสานกับการสื่อสารเพื่อการต่อรอง ความเป็นอีสานใหม่

Main Article Content

รุ่งลดิศ จตุรไพศาล
สมสุข หินวิมาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการต่อรองความเป็นอีสานใหม่ผ่าน รถแห่ที่มีกลุ่มวัยรุ่นอีสานเข้ามามีส่วนร่วม โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร คลิปวิดีโอการแสดงรถแห่ ร่วมกับการสังเกตภาคสนามในพื้นที่การแสดงรถแห่ในภาคอีสาน และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเจ้าของผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรถแห่ กลุ่มเจ้าของวงรถแห่ในภาคอีสาน และกลุ่มผู้ชมในพื้นที่การแสดงรถแห่ในภาคอีสาน และอาศัยแนวคิดท้องถิ่นนิยม กับแนวคิดการผลิตและผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ในการศึกษาและวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า รถแห่เป็นสื่อการแสดงที่มีผสมผสานเพลงสมัยใหม่ที่เป็นกระแสสังคม เข้ากับเพลงหมอลำแบบท้องถิ่นอีสาน มักใช้เครื่องดนตรีสากลในการแสดงทั้งหมด ศิลปินส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่น และมักจะมีผู้ชมวัยรุ่นมักจะมีส่วนร่วมกับการแสดงด้วยการเต้นโยกเอวเรียกว่า การเต้นบั้นเด้าอยู่เสมอ และรถแห่ส่วนใหญ่จะมีการเผยแพร่บันทึกวิดีโอการแสดงผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย โดยมักใช้ภาพคนเต้นบั้นเด้าประกอบอยู่เสมอ ทำให้รถแห่ได้สื่อให้เห็นถึงเห็นถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ความทันสมัย และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอีสานในปัจจุบันไปยังสังคมภายนอก ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมรถแห่ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่น โดยเฉพาะการสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงรถแห่จากการผสมผสานวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ากับท้องถิ่น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านบริบทสังคมอีสานใหม่ที่พัฒนาขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมให้วัยรุ่นอีสานมีต้นทุนความรู้ และต้นทุนทางเศรษฐกิจ นำไปสู่อำนาจในการผลิตซ้ำสื่อวัฒนธรรมได้มากขึ้น และนำไปสู่การสื่อสารเพื่อสร้างภาพจำ และการยอมรับวัฒนธรรมอีสานแบบอีสานใหม่ที่แตกต่างจากอดีตที่อีสานถูกมองว่า ด้อยพัฒนา และไม่ได้รับการยอมรับด้านวัฒนธรรมมากนัก

Article Details

บท
Articles

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). Gen Y/Gen Me ประชากรกลุ่มใหญ่ในโลกยุคดิจิตอล. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 กุมภาพันธ์ 2566 แหล่งที่มา https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/10847

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง “การสื่อสารชุมชน”. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ, และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์. นักมานุษยวิทยา. (27 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.

จิราพร ขุนศรี. (2557). การสื่อสารกับการปรับตัวเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีสื่อพื้นบ้านเพลงซอล้านนาในบริบทของจังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะนิเทศศาสตร์.

เจน (นามสมมติ). (4 มีนาคม 2566). สัมภาษณ์.

ไซนิล สมบูรณ์. (2564). อีสานแมส/อีสานใหม่: กระแสนิยมของภาพยนตร์อีสานและการประกอบสร้างความเป็นอีสานตั้งแต่ทศวรรษที่ 2550. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

ณัฏฐธิดา จันเทร์มะ. (2559). การสร้างอัตลักษณ์อีสานผ่านภาพยนตร์สั้นในเทศกาลภาพยนตร์อีสาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

แทม (นามสมมติ). (22 เมษายน 2566). สัมภาษณ์.

นภาพร อติชานิชยพงศ์. (2557). ชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย, วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 103-127.

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน วิทยาลัยมหาสารคาม.

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2561). อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

พันธกานต์ ทานนท์. (2564). มิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งอีสานกับการสื่อสารอัตลักษณ์อีสานใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คณะนิเทศศาสตร์, สาขานิเทศศาสตร์.

ระ (นามสมมติ). (22 เมษายน 2566). สัมภาษณ์.

สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น. (2563). โอกาสและความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของยุค Gen Z. วันที่เข้าถึงข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2566 แหล่งที่มา https://www.depa.or.th/th/article-view/article4-2563

สุทธาภรณ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2564). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่ปะทะกับกระแสโลกาภิวัตน์ผ่านพื้นที่ของกาแฟ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาสื่อสารมวลชน.

สุริยา สมุทคุปติ์ และคณะ. (2544). โครงการวิจัย คนซิ่งอีสาน: ร่างกาย กามารมณ์ อัตลักษณ์ และเสียงสะท้อนของคนทุกข์ในหมอลำซิ่งอีสาน. สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วันที่เข้าถึงข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2566 แหล่งที่มา http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=327206

หนุ่ม (นามสมมติ). เจ้าของวงรถแห่ในจังหวัดขอนแก่น. (22 เมษายน 2566). สัมภาษณ์.

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ. (2563). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มาตรการควบคุมการบริโภคแอลกอฮอล์ของชุมชนในกิจกรรมรถแห่ดนตรีสดจังหวัดขอนแก่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ. (2565). รถแห่ดนตรีสด: ความนิยมในการจัดกิจกรรมของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย, วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 10(1), 208-223.

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ. อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (22 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.