การเล่าเรื่องสุขภาพในละครเกาหลี เรื่อง Hospital Playlist
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพในละครเกาหลีเรื่อง เพลย์ลิสต์ชุดกาวน์ (Hospital Playlist) ที่มีความยาวตอนละประมาณ 90 นาที ออกอากาศปีที่ 1 จำนวน 12 ตอน ระหว่าง 12 มีนาคม ถึง 28 พฤษภาคม 2563 และ ปีที่ 2 จำนวน 12 ตอน ออกอากาศระหว่าง 17 มิถุนายน ถึง 9 กันยายน 2564 ผลิตโดย สถานีโทรทัศน์ทีวีเอ็น (tvN) ซึ่งสามารถรับชมได้ในประเทศไทย ผ่านทางเน็ตฟลิกซ์ ละครเรื่องนี้มีตัวละครเอกของเรื่องเป็นแพทย์ทั้งหมด ละครมีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพ ความรักและความผูกพันระหว่างเพื่อน รวมถึงการคัดเลือกเพลงประกอบในแต่ละตอนให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่ตัวละครต้องเผชิญ กำกับการแสดงโดย ชิน วอนโฮ และเขียนบทโดย อี อูจอง ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของละครที่เป็นการเล่าเรื่องสุขภาพ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ การเล่าเรื่องการวางแผนการรักษา การเล่าเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ การเล่าเรื่องการติดตามอาการของผู้ป่วย การเล่าเรื่องผู้ป่วยอาการวิกฤต การเล่าเรื่องผู้ป่วยฉุกเฉิน การเล่าเรื่องการผ่าตัด การเล่าเรื่องการบริจาคอวัยวะ และการเล่าเรื่องอาจารย์แพทย์กับนักศึกษาแพทย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณ์ มงคลเกษม. ผู้เขียนบทโทรทัศน์. (18 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
ขจีรัตน์ หินสุวรรณ. (2542). “การวิเคราะห์วิธีการเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชน: บทเรียนจากงานของสมสุข กัลย์จาฤก” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คอซีรีส์. (2564). Hospital Playlist ซีซั่น 2 กับ จุดโฟกัสที่ PD ชินวอนโฮ – ทีมนักแสดงชั้นนำชี้ให้ตั้งตารอ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 10 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา https://www.korseries.com/synopsis-hospital-playlist-2-2021/Hospital
คอซีรีส์. (2564). พลังของซีรีส์ Hospital Playlist ส่งผลให้มียอดผู้บริจาคอวัยวะในเกาหลีเพิ่มขึ้น 11 เท่าตัว. . วันที่เข้าถึงข้อมูล 24 สิงหาคม 2564) แหล่งที่มา https://www.korseries.com/number-of-organ-donors-in-korea-increased-by-11-times-with-hospital-playlist-2-influence/
เจ๊เนอเรชั่น. (2564). เรื่องย่อซีรีส์เกาหลี Hospital Playlist. วันที่เข้าถึงข้อมูล 4 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา https://entertainment.trueid.net/detail/9Eklg7DOn9oM
ชิษณุ พันธ์เจริญ. (2555). แนวคิดในการสื่อสารด้านบริการทางการแพทย์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 56(5), 527-31.
ดำเกิง ฐิตะปิยะศักดิ์. (2546). เอกสารประกอบการสอน พื้นฐานการเขียนบทละคร โรงเรียนบางกอกการละคร.
ติณณา สิมะไพศาล. (2553), การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะการเล่าเรื่องในละครเกาหลีและละครไทยที่ได้รับความนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเกาหลี ศึกษา (สหสาขาวิชา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล อินทร์จันทร์. (2555). ภาพยนตร์ชุดเกาหลี: กรณีศึกษากระแสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1). 132-144.
นัทธมน วุธานนท์. (2554). การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิคศัลยกรรม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.
ปิยะพร วายุภาพ. ผู้เขียนบทโทรทัศน์. (18 กรกฎาคม 2565). สัมภาษณ์.
พรรณศักดิ์ สุขี. (2541). การเขียนบทละคร. กรุงเทพฯ: แผนกตำราและคำสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
แพทยสภา. (2564).ประกาศและข้อบังคับแพทยสภา. วันที่เข้าถึงข้อมูล 4 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา https://www.tmc.or.th/service_law02.php
มัทนี รัตนิน. (2559). ศิลปะการละคอน หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เรณู อาจสาลี. (2550). การพยาบาลผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด. กรุงเทพฯ: เอ็นทีเพรส.
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (ม.ป.ป.). บริจาคร่างกายและอวัยวะ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 4 มิถุนายน 2564 แหล่งที่มา https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/body-and-organ-donations/
วิรัช ทุ่งวชิรกุล. (2556). จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วนิศา รัชวัตร์. (2561). “ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตระยะสุดท้าย”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สินียา ไกรวิมล. (2545). “ลักษณะของบทละครโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมช่วงหลังข่าวจากปี พ.ศ.2535-2544” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556). เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ.
เสาวภา. (2564). ละครเกาหลี พลังแฝงสร้างประเทศ. วันที่เข้าถึงข้อมูล 27 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา https://workpointtoday.com/korea-series-softpower/
อรอุษา อึ๊งศรีวงศ์ และ ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2555). การสร้างตัวละครและการเล่าเรื่องในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้อาชีพเป็นแก่นเรื่อง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ม.ป.ท.
อิสรีย์ ศรีศุภโอฬาร และ นรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2559). ผลของโปรแกรมการตอบสนองความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตต่อความกังวลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาล สงขลานครินทร์, 36(3), 77-93.
Abdussalam A. Alahmari. (2023). Professionalism, Ethics, and Realism of Television Medical Dramas as Perceived by Saudi Medical Students. Journal of Medical Education and Curricular Development. 10(3).
Diana Piscarac. (2016). Medical K-Dramas: A Cross – Section of South Korea’s Global Cultural Industry. of Sociological Studies, New Series, 1, 43–60.
Madeline Garcia and Leah Sievering. (2022). A Study of the Impacts of Medical Dramas on High School Students’ Career Aspirations and Expectations. Journal of Student Research. 11(3), 1-16.
Mark R Plaice. (2019). Medical Drama in Korea: Doctor as 'Other' & the critique of modernity. K-drama & TV Symposium.