การรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริโภคและความตั้งใจซื้ออาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักบนเฟซบุ๊ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ก
ารศึกษาเรื่องการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร การรับรู้ความเสี่ยงของผู้บริโภค และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักบนเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนัก 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงในการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนัก 3) เพื่อศึกษาความตั้งใจซื้ออาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนัก 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารกับการรับรู้ความเสี่ยง 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเสี่ยงกับความตั้งใจซื้อ 7) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารกับความตั้งใจซื้อ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้ที่เคยซื้อหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักบนเฟซบุ๊กจำนวน 400 คน และดำเนินการเก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ โพสต์แบบสอบถามไปที่เพจเฟซบุ๊กของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนัก LB ลดน้ำหนัก by ดีเจ ต้นหอม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่างกันมีการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารแตกต่างกัน และการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสารมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับการรับรู้ความเสี่ยง แต่กลับพบว่าการรับรู้ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร และการรับรู้ความเสี่ยงไม่มีความสัมพันธ์กันกับความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักจากสื่อเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Article Details
References
จิรภา รุ่งเรืองศักดิ์. (2557). การยอมรับและการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในการใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based services: LBS) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
รุจิเรข รัศมีจาตุรงค์. (2554). ความน่าเชื่อถือของการแนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเว็บไซต์ด้านเครื่องสำอาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลลิตา พ่วงมหา และสุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2553). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารนิเทศศาสตร์, 28(3), 12-28.
Workpoint News;. (2561, 30 เมษายน). บุกจับอาหารเสริมลีน อ้างสรรพคุณเกินจริง หลังพบคนตาย 4 ราย. วันที่เข้าถึงข้อมูล 2 เมษายน 2560, แหล่งที่มา https://workpointnews.com/2018/
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2535). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: S.M. Circuit Press.
สราวุธ ควชะกุล. (2557). ความไว้วางใจในการใช้บริการธนาคารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
อธิพร จันทรประทิน และสุวัฒนา วงษ์กะพันธ์. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศคติ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครที่มีต่อระบบแอดมิชชั่นส์ ปี 2553. วารสารนิเทศศาสตร์, 28(3), 136-158.
Cheung, R. (2014). The influence of electronic word-of-mouth on information adoption in online customer communities. Global Economic Review, 43(1), 42-57.
Heng, X., Hock-Hai, T., & Bemard, C. (2005). Predicting the adoption of location-based services: The role of trust and perceived privacy risk. Paper presented at the International Conference on Information Systems. Las Vegas, Nevada.
Hovland, C. L., Janis, I. L., & Kelly, H. H. (1953). Communication and persuasion. London: Yale University Press.
Javadi, M., Dolatabadi, H., Nourbakhsh, M., Poursaeedi, A., & Asadollahi, A. (2012). An analysis of factors affecting on online shopping behavior of consumers. International Journal of Marketing Studies, 4(5), 81-98.
Kuhlmeier, D., & Knight, G. (2005). Antecedents to internet‐based purchasing: a multinational study. International Marketing Review, 22(4), 460-473.
Koufaris, M. K., & Sosa, W. H. (2004). The development of initial trust in an online company by new customers. Journal of Information and Management, 41(3), 377-397.
Pi, S., & Sangruang, J. (2011). The perceived risks of online shopping in Taiwan. Social Behavior and Personality: An International Journal, 39, 275-286.
Whitehead, R. (1968). Children's literature strategies of teaching. Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.
Zhu, C. et al. (2011). Evaluation and application of modularly assembled zinc-finger nucleases in zebrafish. Development for Advances in Developmental Biology and Stem Cells., 138(20), 4555-4564.