การเปิดรับข่าวสาร ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรม และพฤติกรรมการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดภายใต้การกำกับดูแลในโครงการไทยคิวอาร์เพย์เมนต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

Main Article Content

ธีรภัทร สิริมหาสุวัฒน์
กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสาร ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรม และพฤติกรรมการใช้บริการระบบการชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดภายใต้การกำกับดูแลในโครงการไทยคิวอาร์เพย์เมนต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับระบบการชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมและพฤติกรรมการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26 – 34 ปี ระดับการศึกษาสูดสุด คือ ปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยส่วนตัวต่อเดือน 10,000 – 20,000 บาท ในส่วนของการเปิดรับข่าวสาร ประชากรมีการรับรู้ประเด็นข่าวสารเกี่ยวกับระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ด ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับคนสมัยใหม่มากที่สุด ในส่วนของการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ด ผ่านสื่อดั้งเดิม (3.09)และสื่อใหม่ (3.01)ประชาชนมีการเปิดรับสื่ออยู่ในระดับปานกลาง
ในส่วนของการยอมรับนวัตกรรม ประชาชนมีการยอมรับนวัตกรรมด้านการรับรู้ประโยชน์ (4.31) และ ความสอดคล้องกับประสบการณ์/ค่านิยม/ความเชื่อ (4.26) อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการยอมรับนวัตกรรมด้านความซับซ้อน การสามารถทดลองได้ และการสามารถสังเกตผลลัพธ์ได้ อยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ด ประชาชนมีการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดเพื่อชำระสินค้า และบริการในระดับน้อย
ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าการเปิดรับสื่อทั้งดั้งเดิมและสื่อใหม่กับปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านการรับรู้ประโยชน์ความสอดคล้องกับประสบการณ์/ค่านิยม/ความเชื่อด้านความซับซ้อน การสามารถสังเกตผลลัพธ์ได้มีความสัมพันธ์กันต่ำ ส่วนการเปิดรับสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่กับปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านการสามารถทดลองได้มีความสัมพันธ์กันปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า การเปิดรับสื่อดั้งเดิมกับพฤติกรรมการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยคิวการโค้ดเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการมีความสัมพันธ์กันต่ำ และการเปิดรับสื่อใหม่กับพฤติกรรมการใช้บริการระบบชำระเงินด้วยคิวการโค้ดเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการมีความสัมพันธ์กันปานกลาง และในส่วนของปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมของประชาชนที่มีต่อระบบการชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์โค้ดกับพฤติกรรมการชำระเงินค่าสินค้า และบริการด้วยระบบชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดมีความสัมพันธ์กันปานกลาง

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

ธีรภัทร สิริมหาสุวัฒน์

ธีรภัทร สิริมหาสุวัฒน์ (นศ.ม. สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560)

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ (M.A. Marketing Communication and Advertising, Emerson College, Boston, USA.) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

References

ภาษาไทย
ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ:วังอักษร.
ณัฐวุฒิ เปรมปราชญ์. (2557). การยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นฟังเพลงแบบสตรีมมิ่งKKBOXบทสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คณะวารสารศาสตร์,สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน).
ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2558).รายงานระบบชำระเงิน 2558-2559. [เว็บไซต์]. สืบค้นจากhttps://www.bot.or.th/
ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2558). ความคืบหน้า Thai QR Payment & Bill Payment. [เว็บไซต์]. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/
ภาษาอังกฤษ
Rogers, E.,Shoemaker,E. (1971) Diffusion of Innovations. USA: Division of Macmillan Publishing CO.,Inc.