การบริหารการจัดการการสื่อสารทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ

Main Article Content

กฤติยา รุจิโชค

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการบริหารการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยที่สนับสนุนและจำกัดต่อการบริหารการจัดการการสื่อสารทางการเมือง วิเคราะห์ปัจจัยด้านรูปแบบ ระบบการบริหารจัดการและสร้างแบบจำลองจากตัวแปรด้านการบริหารจัดการการสื่อสารทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในสื่อออนไลน์ให้กับภาครัฐกรณีเกิดความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มนักศึกษาที่สนใจและติดตามข่าวสารทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ด้วยการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มที่สนใจติดตามข่าวสารการเมืองที่อยู่ในชุมชนออนไลน์ สัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐมีปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง 6 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง สังคม องค์กร เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกลุ่มผู้รับสาร โดยปัจจัยหลักเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการด้วยกัน 4 ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารการจัดการการสื่อสารทางการเมืองในสื่อออนไลน์คือ ได้แก่การวางแผน การจัดองค์การ การจัดการบุคลากร การสั่งการ และการควบคุม ซึ่งปัจจัยหลักทั้ง 6 ด้านนอกจากจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการวางแผนการบริหารการสื่อสารแล้วยังเป็นปัจจัยข้อจำกัดในบางเรื่องที่ส่งผลเสียหายต่อการบริหารจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐด้วย

Article Details

บท
Articles
Author Biography

กฤติยา รุจิโชค, สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

กฤติยา รุจิโชค (ปร.ด. สาขาการสื่อสารระหว่างประเทศ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ email : kkritiya2014@gmail.com) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

References

ชุดาภา ปุณณะหิตานนท์. (2541). พฤติกรรมการเปิดรับสารจากสื่อมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัศนา สลัดยะนันท์ และอังสนา ธงไชย. (2547). การจัดการความรู้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไทย. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิลุบล ใจอ่อนน้อม. (2543 ).การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภราดร จินดาวงศ์. (2549). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: บริษัทสกายบุ๊คส์ จำกัด.
ระวีวรรณ ประกอบผล. (2528). พฤติกรรมการสื่อสารทางการเมือง. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิชัย โวหารดี. (2534). พฤติกรรมการรับข่าวสารทางการเมืองในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พ.ศ. 2530. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. 2541. การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พี.
เสถียร เชยประทับ. (2540). การสื่อสารกับการเมือง: เน้นสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสน่ห์ นนทะโชติ. (2524). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชุมชนบทไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านวังคล้าย อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Ahmad, Khalil and Sajjad, Karim . (2013, July - December). Social Media and Youth Participatory Politics: A Study of University Students. Journal of South Asian Studied. Vol.28, No. 2: 353-360.
Al-Gharibeh, Khaled Mohammad . (2011). The Knowledge Enablers of Knowledge Transfer : An Empirical Study in Telecommunications Companies. IBIMA BusinessReview. Vol. 2011. (Online) Avalable:http://www.ibimapublishing.com/
journals/IBIMABR/ibimabr.html.
Cabalin, Christian. (2014).Online and Mobilized Students:The Use of Facebook in the Chilean Student Protests. Media Education Research Journal. n. 43, v. XXII, ISSN: 1134-3478; e-ISSN: 1988-3293.
Hill, David and Lachelier, Paul. (2014). Can Face-to-Face Mobilization Boost Student Voter Turnout? Results of a Campus Field Experiment. Journal of Higher Outreach & Engagement, Vol.18 Issue 1: 61-87.
Hillary, Shulman C. and Levine, Timothy R. (2012, Jun.). “Exploring Social Norms as a Group-Level Phenomenon: Do Political Participation Norms Exist and Influence Political Participation on College Campuses”. Journal of Communication, Vol 62 Issue 3: 532-552.
Little, S. and Ray, T. (Eds.). (2005). Managing Knowledge. 2nd ed. London: The OpenUniversity and Sage.
Visser, Sara and Stolle, Dietind. (2014, Sep). “The Internet and New Modes of Political Participation: Online Versus Offline Participation.” Information, Communication & Society, 17(8): 937-955.
Weiner, Myron . (1971). “Political Participation : Crisis of the Political Process”. In Leonard, Binder and others (Eds.) Crisis on Sequences in Political Development. Princeton : Princeton University Press.
Zhang Xinzhi and Wan-yin Lin. (2014). “Political Participation in an Unlikely Place: How Individuals Engage in Politics through Social Networking Sites in China”. International Journal of Communication (19328036) Vol. 8: 21-42.