Book Review: Ten Canonical Buildings 1950-2000

Main Article Content

Santirak Prasertsuk

Abstract

Ten Canonical Buildings 1950-2000 เป็นงานเขียนของ ปีเตอร์ ไอเซนแมน (Peter  Eisenman) สถาปนิกและนักวิชาการชาวอเมริกัน ซึ่งเกิดจากส่วนผสมของผลงานนักศึกษาสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ในรายวิชาที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื่องนับเป็นเวลาสี่ปี สาระสำคัญของหนังสือประกอบด้วยการคัดเลือกสถาปัตยกรรมจำนวน 10 อาคาร ซึ่งล้วนถูกออกแบบและสร้างขึ้นในกรอบเวลาระหว่าง ค.ศ. 1950-2000 แต่ละหลังถูกนำมาเป็น “วัตถุ” (object) ในการ “อ่าน”ด้วยวิถีทางที่ต่างไปจากการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมโดยทั่วไปที่มุ่งเน้นแต่การอ่านถึงแนวคิดในการออกแบบ หรือคุณลักษณะเชิงรูปธรรมของสถาปัตยกรรม เช่น รูปทรง การจัดองค์ประกอบ วัสดุ โครงสร้าง หรือการอ่านตามกรอบประวัติศาสตร์โดยทั่วไป ซึ่งมีสถาปนิกผู้ออกแบบเป็นองค์ประธานหลัก (subject) ของการศึกษา แต่ไอเซนแมนใช้วิธีการอ่านที่ “ผู้อ่าน” (reader) ทำหน้าที่เป็นองค์ประธานหลัก ทำให้การอ่านแนวทางนี้เปิดโอกาสให้เห็น “สาร” ที่แฝงเร้นอยู่มากมายที่เกิดการปะทะและต่อต้านกับกฎเกณฑ์แบบเดิม ๆ ของ “ปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรม” (architectural  practice) โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องทวิภาวะ (duality) หรือคู่ตรงข้ามในสถาปัตยกรรม เช่น “subject/object”, “figure/ground”, “solid/void”, “part-to-whole relationships” ที่ดำรงอยู่ในกรอบคิดของสถาปัตยกรรมอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยคลาสสิกต่อเนื่องมาจนถึงสมัยโมเดิร์น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Book Review

References

Eisenman, P. (1999). Diagram diaries (pp. 48-52). London: Thames & Hudson.

Prasertsuk, S. (2005). “Peter Eisenman: Diagram and the disappearance of icon.” 6 architects from architecture after modernism (pp. 55-59). Bangkok, Thailand: Corporation 4d.