Balkrishna Doshi: An Architecture for India

Main Article Content

Nirandorn Tongaroon

Abstract

อินเดียแหล่งอารยธรรมแห่งเอเชียใต้ที่ก่อเกิดศิลปะสถาปัตยกรรมอันหล่อหลอมมาจากรากเหง้าของความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิอากาศ ฯลฯ ทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยความหลากหลาย (diversity) และไม่หยุดนิ่ง (dynamic) โดยเฉพาะเรื่องของความเป็นวัฒนธรรมแบบหลากหลาย นอกจากนั้น อินเดียเป็นแบบอย่างที่ดีในการศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็นอันว่าด้วยเรื่องความผสมผสานในความหลากหลายจากขั้วขวาสุดไปถึงขั้วซ้ายสุด อาทิ ความรวย ความจน ความหรูหราความเรียบง่าย รวมถึงวิธีอันหลอมรวมของภูมิปัญญาความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธา ในท่ามกลางกระแสของโลกปัจจุบันที่ดำเนินไป อินเดียมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ยาวนานจากยุคเริ่มก่อเกิดอารยธรรมส่งผ่านถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในช่วงของยุคอาณานิคม (colonization) กระทั่งถึงยุคปลดแอกเพื่อความเป็นเอกราชและรุ่งอรุณแห่งการสร้างชาติ (nation) หลังยุคอาณานิคม ที่แนวคิดของผู้บริหารประเทศในยุคนั้นพยายามหาการขับเคลื่อนประเทศหลังผ่านความบอบช้ำจากช่วงเวลาของการต่อสู้ เพื่อเอกราช โดยนำวิธีแห่งความเป็นอารยะสมัยใหม่ผสมผสานกับอารยะในแบบของอินเดีย หนึ่งในนั้นคือ การนำสถาปนิกชั้นนำของโลก (great architect) ในยุคนั้น อย่าง เลอ คอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier) มาสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมชั้นครูอย่าง Chandigarh’s Capitol Complex เมืองจันดิการ์ (รูปที่ 2) และงานอื่น ๆ ในอินเดีย และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการวางรากฐานแนวคิดและการออกแบบทางสถาปัตยกรรมในแบบอย่างตะวันตก ณ ทำเลที่ตั้งในเอเชียใต้ (West meets East)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
Book Review

References

Curtis, W. J. R. (2014). Balkrishna Doshi: An architecture for India. The United States of America: Mapin Publishing.

Dengle, N. (2015). Dialogues with Indian master architects. Mumbai: The Marg Foundation.

Klampaiboon, W. (1998). Master of contemporary Indian architecture, Balkrishna Doshi (1927-…. ). ASA – Journal of Architecture, 5, 82-91.