การศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละคร เรื่อง “บุพเพสันนิวาส”

Main Article Content

ประภัสร์ นกเลิศพันธุ์
เกวลี เพชราทิพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ผู้วิจัยทำการศึกษาโดยรวบรวมคำทางวัฒนธรรมที่พบในบทบรรยายใต้ภาพ จากนั้นแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็น คือ ประเภทของคำทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ และข้อผิดพลาดในการแปลคำทางวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า 1.คำทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพเรื่องดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่ คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา 2.ข้อผิดพลาดในการแปลคำทางวัฒนธรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแปลผิด การแปลขาด และการเลือกใช้คำไม่เหมาะสม ประเภทของข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุดคือ การแปลผิด ลำดับรองลงมาคือการเลือกใช้คำไม่เหมาะสม และสุดท้ายคือการแปลขาด โดยประเภทของคำทางวัฒนธรรมที่พบข้อผิดพลาดมากที่สุดได้แก่คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ จำนวน 66 คำ อันดับ 2 ได้แก่คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสถานที่ จำนวน 50 คำ อันดับ 3 ได้แก่คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาษา จำนวน 45 คำ อันดับที่ 4 ได้แก่คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา จำนวน 29 คำ และสุดท้ายได้แก่คำทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคม จำนวน 25 คำ จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่าผู้แปลไม่ได้ศึกษานวนิยายและตัวบทฉบับละครอย่างละเอียด จึงทำให้ขาดความเข้าใจในศิลปะการใช้ภาษาของผู้ประพันธ์ พร้อมด้วยผู้แปลอาจจะขาดความรู้เกี่ยวกับคำทางวัฒนธรรมในภาษาไทย ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยละครดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา มีคำทางวัฒนธรรมหลายคำที่เป็นภาษาโบราณ ซึ่งอาจจะยากต่อการทำความเข้าใจ ผู้แปลจึงไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้

Article Details

How to Cite
นกเลิศพันธุ์ ป., & เพชราทิพย์ เ. (2024). การศึกษาข้อผิดพลาดในการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาไทยเป็นภาษาจีนที่ปรากฏในบทบรรยายใต้ภาพละคร เรื่อง “บุพเพสันนิวาส”. วารสารศิลปการจัดการ, 8(3), 358–381. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/272743
บท
บทความวิจัย

References

Aizhong (2018), Analysis of the trend of “Love Destiny” on Chinese social media. https://www.facebook.com/aizhongchina/posts/1194604100671151/

China Animal Scientific Database. http://www.zoology.csdb.cn/search/wordall?offset=0&search=灰鼠蛇

China Animal Scientific Database. http://www.zoology.csdb.cn/search/wordall?offset=0&search=眼镜蛇

Chontawan, N. (2017). Lawo than to be Lopburi. n.p.

Duangmala, V., & Numtong, K. (2022). A study of translation strategies and errors in translating cultural words and phrases from Thai to Chinese in “Rang Zong” movie subtitles. Chinese Studies Journal, Kasetsart University, 15(2), 251-291. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/258077

Hiranto,U. (1982). Sociology principles. Odeonstore.

Nida, E. A. (1964). Toward a science translating. E.J. Brill.

Numtong, K., & Likhidcharoentham, S. (2019). Principles and precautions in translating Chinese to Thai language and Thai to Chinese language. Chinese Studies Journal, Kasetsart University, 12(2), 105-155. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/240107

Numtong, K. (2020). Translation skills from Chinese to Thai. Faculty of Humanities, Department of Eastern Languages.

Piewpong, V., & Srisomthawin, B. (2023). The uncrossable otherness in the translation of Chinese idioms into Thai subtitles of the Chinese series “Go Ahead”. Journal of Humanities and Social Sciences Review, Lampang Rajabhat University, 11(3). 27-45. http://www.human.lpru.ac.th/husocojs/index.php/HUSOCReview/article/view/332/282

Ratano, P., & Somwang, Y. (2017). Cultural industry and communication in digital era: A case study of Thai cultural industry in China. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 5(1), 121-136. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalartsjournal/article/view/95951

Saibua, S. (2017). Principles of translation. Thammasat University.

Sawaddiwat na Ayudhya, M. (2005). Principles and principles of analysis. Chulalongkorn University.

Schjoldages, A. (2008). Understanding translation. Academia Publications.

Srisomthawin, B. (2020). The study of mistranslation on the Chinese subtitle of Thai TV series "My Gear and Your Gown". Chinese Studies Journal, Kasetsart University, 13(2), 509-547. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/245281

Supol, D. (1998). Theory and techniques of translation. Chulalongkorn University.

Zhao, E., Huang, M., & Zong, Y. (1998). Fauna of China. Science Press.